"คิดเป็น ทำเป็น เน้นICT"

“จัดการศึกษาตลอดชีวิต ผูกมิตรกับเครือข่าย
กระจายความรู้สู่ชุมชน ทุกที่ทุกเวลาด้วย ICT
มีอาชีพและแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน"

“ก้าวไปในยุคดิจิทัล”

“องค์กรออนไลน์”

1.จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
2.จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างรายได้
3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
4.พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสานสนเทศและสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการอาชีพเพื่อการมีงานทำ
5.พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ประชากรวัยแรงงาน(อายุ 15-59 ปี)ได้รับการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 % ของ กศน.อำเภอเมืองชลบุรี
2. กศน.อำเภอเมืองชลบุรีผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในไม่น้อยกว่า 80 % ของตัวชี้วัดตามเกณฑ์การประเมิน
3. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี
4. บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไม่น้อยกว่า 75 %
5. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไม่น้อยกว่า 75 %ของกิจกรรมที่จัดทั้งหมด
6. ประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล (กศน.ตำบล) และแต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล ครบทุกตำบล ( 17 แห่ง)
7. ประกาศจัดตั้งแหล่งเรียนรู้พร้อมนำผู้เรียน/นักศึกษา เรียนรู้ อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง
8. แต่งตั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมนำผู้เรียน/นักศึกษา เรียนรู้ อย่างน้อยตำบลละ 2 ราย
9. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างน้อย 5 ระบบ

1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านประชากรวัยแรงงาน
2. จัดและส่งเสริมสนับสนุนให้จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียน/ผู้รับบริการ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
3. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ
4. ระดมภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดและส่งเสริมกิจกรรม กศน.
5. ประชาสัมพันธ์งาน กศน.ในรูปแบบที่หลากหลาย และทั่วถึง
6. จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชน ร่วมกับภูมิปัญญาและผู้รู้ในชุมชน
7. สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน
8. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเป้าหมาย
9. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ
|