พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์
สวัสดีครับ...เราขอนำท่านมาเที่ยวชมและสักการะ พระพุทธรูปแกะ
สลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ เราจะนำเรื่องราวและประวัติของสถานที่แห่งนี้มาให้ชมกัน
เขาชีจรรย์เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉาย
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส
ทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบ
ประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ความสูง 109 เมตร
ประวัติการสร้าง
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมี
ความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหิน
ฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอา
วาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่อ
อยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถาน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดย
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปาง
มารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความ
สูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "
ขั้นตอนการสร้าง
การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์
เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ
การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสง
เลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็
ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่
31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร
และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป
ก่อนการก่อสร้าง
ระเบิดหิน
ทรงคุมงานก่อสร้าง
ยิงแสงเลเซอร์
ทรงบรรจุพระบรมธาตุ
ส่งขึ้นไปที่พระอุระ
ตำแหน่งพระอุระ
พระเนตรพระพุทธรูป
นำพระเนตรมาติดตั้ง
ทำพิธีเปิด
คำแนะนำการเที่ยวชม
การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และปฎิบัติตาม
ป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ สถานที่แห่งนี้จะอยู่
ใกล้กับ อเนกกุศลศาลา และวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ แห่งนี้มี
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป และการเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ เรือเอก สัมพันธ์ เสียงสืบชาติ ผู้ที่ให้ข้อมูลและภาพถ่ายในครั้งนี้ให้เรานำมาเผยแพร่ให้ได้รับชมกัน และหากท่านใดต้องการติดต่อเข้ามาเยี่ยมชมเป็น
พิเศษหรือต้องการใช้พื้นที่ในการนั่งกรรมฐานหรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาซึ่งทางผู้ดูแลจะคอยอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้สถานที่ ก็ให้ติดต่อมาที่
คณะทำงานดูแลบำรุงรักษาพระพุทธมหาวิชรอุตตโมภาสศาสดา ฯ
หมู่ที่ 7 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20250
เข้าชม : 4521
|