ความร่วมมือในการพัฒนาทางการเมืองของอาเซียนมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย
เพิ่มธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม
1. ความร่วมมือในการพัฒนาการเมือง
1.1 ส่งเสริมความเข้าใจและการให้คุณค่าแก่ระบบการเมือง วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของรัฐภาคีอาเซียน
1.2 วางพื้นฐานสำหรับกรอบเชิงสถาบันเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการไหลเวียนข้อมูลอย่างเสรีเพื่อการสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในระหว่างรัฐภาคีอาเซียน
1.3 ริเริ่มโครงการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างรัฐภาคีของอาเซียนในการพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม ระบบตุลาการและโครงสร้างพื้นฐานของกฎหมาย การบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และธรรมาภิบาลในภาครัฐและเอกชน
1.4 ส่งเสริมและการป้องกันสิทธิมนุษยชนและพันธกรณี
1.5 เพิ่มการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในการผลักดันให้มี การริเริ่มเรื่องการพัฒนาทางการเมืองของอาเซียน
1.6 การป้องกันและการต่อต้านการคอรัปชั่น
1.7 ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
2. การพัฒนาและแบ่งปันบรรทัดฐาน
2.1 ปรับกรอบเชิงสถาบันของอาเซียนเพื่อให้สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียน
2.2 ส่งเสริมให้รัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและ ความร่วมมือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
2.3 สร้างหลักประกันว่าจะมีการดำเนินการตามปฏิญญาว่าการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆอย่างเต็มที่เพื่อ สร้าง หลักประกันสันติภาพ และเสถียรภาพในทะเลจีนใต้
2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้และ แผนปฏิบัติการของสนธิสัญญานี้
2.5 ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลอาเซียน
ภูมิภาคที่เป็นปึกแผ่น มีสันติภาพและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้ง
มีความรับผิดชอบ ร่วมกันเพื่อความมั่นคงในทุกด้าน
ในการสร้างประชาคมที่มีความมั่นคงทางการเมืองที่มีสันติภาพ เป็นปึกแผ่นและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ นอกเหนือจากความมั่นคงตามแบบจารีต
1. มาตรการป้องกันความขัดแย้ง/การสร้างความเชื่อมั่น
1.1 ส่งเสริมความเข้มแข็งของมาตรการสร้างความเชื่อมั่นโดยใช้โอกาสในการแลกเปลี่ยนและ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารและระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารกับบุคลากร พลเรือนที่มีเพิ่มขึ้น
1.2 สนับสนุนให้มีความโปร่งใสและความเข้าใจอย่างชัดเจนในนโยบายด้านการป้องกันประเทศ และความตระหนัก ในเรื่องความมั่นคง
1.3 จัดตั้งกรอบของสถาบันที่มีความจำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการของการประชุมภูมิภาค เพื่อสนับสนุน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Political Security Commission: APSC)
2. การตกลงแปซิฟิกในกรณีความขัดแย้ง
2.1 การเสริมสร้างการตกลงแปซิฟิกในกรณีความขัดแย้งบนรูปแบบที่มีอยู่แล้วและพิจารณา การสร้างความเข้มแข็ง ด้วยการเพิ่ม กลไกที่จำเป็น
2.2 จัดทำการศึกษาวิจัยและการแลกเปลี่ยนของศูนย์ต่างๆของอาเซียนที่มีการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพด้านการจัดการ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และ การทำให้เกิดสันติภาพ
2.3 การพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง
2.4 การพัฒนาให้มีการริเริ่มสนับสนุนการดำเนินงาน
3. การสร้างสันติภาพภายหลังเกิดความขัดแย้ง
3.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน
3.2 การดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการสร้างขีดความสามารถให้กับประชาชน ในพื้นที่ภายใต้การฟื้นฟู และการก่อสร้างภายหลังจากที่เกิดความขัดแย้ง
3.3 การเพิ่มความร่วมมือในด้านความสมานฉันท์
4. ความมั่นคงในรูปแบบที่ไม่ยึดถือตามประเพณี
(อาชญากรรมข้ามชาติ – การก่อการร้าย, การค้ามนุษย์, การลักลอบค้ายาเสพติด, โจรสลัด, การลักลอบค้าอาวุธสงคราม, อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
4.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือในเรื่องความมั่นคงที่ไม่ได้ยึดถือตามประเพณี การต่อสู้กับอาชญากรข้ามชาติ และปัญหาเรื่องเขตแดนอื่นๆ
4.2 การเพิ่มความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายโดยการให้สัตยาบันในเบื้องต้นและการดำเนินงานอย่างเต็มที่ของอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Convention on Counter-Terrorism)
การเคลื่อนไหวและการมองออกไปนอกภูมิภาคในยุคโลกภิวัฒน์
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อความเป็นกลางของอาเซียนในโครงสร้างของภูมิภาค
2. การสนับสนุนด้านการเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน
3. ความร่วมมือว่าด้วยประเด็นที่น่ากังวลในโลก
ผลการปฏิบัติงานของอาเซียน
จากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียน ตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน อาเซียนได้ปฏิบัติงาน ตามโครงการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ โดยจัดให้มีโครงการดำเนินการผลิตสินค้าทาง อุตสาหกรรมเพื่อจำหน่าย ซึ่งแบ่งการรับผิด ชอบออก เป็นประเทศ เช่น การผลิตปุ๋ยยูเรียเป็นโครงการของ ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย การผลิตเวชภัณฑ์เป็นโครงการของ ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น มีการจัดตั้งหน่วยงานสำรองข้าวยามฉุกเฉินในประเทศสมาชิก เพื่อเตรียมรับภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือทางด้านสังคม เช่น ด้านความร่วมมือของสตรี อาเซียนได้จัดตั้งโครงการ สตรีอาเซียนขึ้น เพื่อให้สตรีอาเซียนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทของสตรีต่อการพัฒนาสังคม สาธารณสุข และโภชนาการ เพื่อเสริมสร้างพลานามัย และให้ความ รู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับเยาวชน เพื่อส่งเสริม และพัฒนา ความร่วมมือระหว่างเยาวชนของประเทศสมาชิก โดยจัดทำโครงการต่างๆ เช่น โครงการมหกรรมเยาวชนอาเเซียน โครงการมิตรภาพ โครงการเรือเยาวชนอาเซียน เป็นต้น
อาเซียนได้จัดความร่วมมือในด้านวัฒนธรรมและสนเทศ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียม ประเพณีเก่าๆ ไว้หลายโครงการ เช่น ด้านภาพยนตร์ จัดให้มีงานมหกรรม ภาพยนตร์ประจำปีอาเซียน ด้านดนตรี มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทางดนตรีสำหรับเยาวชน อาเซียน ด้านศิลปะการแสดงมีการแลกเปลี่ยนนักแสดง และการแสดงวัฒนธรรมของประเทศ สมาชิก ตามโครงการแลกเปลี่ยนศิลปิน จัดเป็นงานมหากรรมนาฏศิลป์อาเซียน และงานมหกรรม ดนตรีอาเซียน ด้านการต่อต้านยาเสพติด โดยการลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยหลักในการ ต่อต้านการใช้ยาเสพติด อาเซียนในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตนับตั้งแต่การก่อตั้ง ASEAN เมื่อปี 2510 จนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าอาเซียนประสบความสำเร็จในการบรรลุถึง เป้าหมายสำคัญๆ และเจตนารมย์ที่กำหนดไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ อย่างน่าพอใจ ทั้งใน ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการพัฒนาความสัมพันธ์กับโลกภายนอก ความสำเร็จประการหนึ่งน่าจะได้แก่การดำเนินการเพื่อให้ทุกประเทศในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ หันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกัน มากขึ้นในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการรวมตัวกันของประเทศ ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้กรอบ ความร่วมมือ อาเซียนกำลังพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อาเซียนในวัย 33 ปี กำลังประสบกับเงื่อนไขใหม่ๆ หลายประการทั้งจากปัจจัย ภายใน และภายนอกภูมิภาคซึ่งท้าทายกระบวนการ รวมตัวและความเป็นปึกแผ่นของ ประเทศสมาชิก และบั่นทอนความน่าเชื่อถือและบทบาทขององค์กรอาเซียนด้วย จึงมีความ จำเป็นที่ประเทศสมาชิกจะต้อง มีความตื่นตัวและให้ความสนใจในการร่วมกันแสวงหาแนวทางในการ เผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆเหล่านี้ต่อไป
ความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาค
ภายหลังจากสงครามเย็นยุติลง และการแก้ไขปัญหากัมพูชา สถานการณ์ความมั่นคงทาง การเมืองในภูมิภาคโดย ส่วนรวม เริ่มดีขึ้นและยังคงมีแนวโน้มในทางบวกต่อไป โดยประเทศในอินโดจีนได้ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนครบ ทุกประเทศแล้ว โดยกัมพูชาเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 10 เมื่อปี 2542 ส่วนสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออก กำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นขณะเดียวกัน อาเซียนได้ผลักดันการจัดทำเอกสารแนวทางปฏิบัติระดับภูมิภาคในทะเล จีนใต้(Regional Code of Conduct on the South China Sea) ระหว่างอาเซียนกับจีนซึ่งจะช่วยสร้างความ ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ ่ประเทศนอก ภูมิภาค นอกจากนั้น อาเซียนยังคง ให้ความสนใจต่อสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี โดยล่าสุด ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เชิญรมว.กต. เกาหลีเหนือมา เยือนไทยในช่วงการประชุม AMM ครั้งที่ 33ในเดือน กรกฎาคม 2543 เพื่อจักได้มีโอกาส สัมผัสกับบรรยากาศ ของการประชุมและกระบวนการ ร่วมมือระดับภูมิภาค และมีโอกาสได้พบปะกับประเทศอื่นรวมทั้งประเทศที่มีบทบาท เกี่ยวข้องกับ ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีด้วย ทั้งนี้ อาเซียนยังคงมีบทบาทนำในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการเมือง และความมั่นในเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้เป็นกลไก ในการสร้างเสถียรภาพ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และป้องกันมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ในภูมิภาค ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้สนธิ สัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) เป็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค อีกทั้งได้พยายามเร่งการปฏิบัติตามสนธิสัญญา เขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และโน้มน้าวให้ประเทศที่มี อาวุธนิวเคลียร ์ เข้าร่วมใน สนธิสัญญาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคยังคงมีความแปรปรวนสืบเนื่องจากปัญหาในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้ง ในคาบสมุทรเกาหลี ความตึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวัน ตลอดจนปัญหาภายในของบางประเทศ ในอาเซียน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพม่าและอินโดนีเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาค ในขณะเดียวกัน อาเซียนยังต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ ปัญหาข้ามชาติซึ่งทวีความ รุนแรง มากยิ่งขึ้นและต้องอาศัยความ ร่วมมือ อย่างเป็นรูปธรรมในระดับภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหา
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอาเซียน
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ ในภูมิภาค นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อปี 2535 มีดำริจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทางเศรษฐกิจ รวมทั้งในด้าน การค้า สินค้าและบริการ การลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สิน ทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงิน การคลัง เป็นต้น โดยมีการกำหนดทิศทางโครงร่างและ แผนงานความร่วมมือ ตลอดจนระยะเวลาบรรลุผลที่ชัดเจน ภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 และแผนปฏิบัติ การฮานอย (Hanoi Plan of Action) ซึ่งกำหนดเป้าหมายที่จะให อาเซียนเป็นเขต เศรษฐกิจ ที่มีการไหลเวียนของสินค้า การบริการ และการลงทุนอย่าง เสรี พัฒนาการที่สำคัญๆ มีดังนี้
ภายใต้ AFTA มีการร่นระยะเวลาการลดภาษีศุลกากรของ 6 ประเทศสมาชิกดั้งเดิม สำหรับสินค้า
อุตสาหกรรม ให้เหลืออัตรา 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2002 และ 0% ภายในปี ค.ศ. 2010 และสำหรับ สินค้าเกษตรให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2010
มีการเจรจาเปิดเสรีด้านการค้าบริการใน 7 สาขา (การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การเงิน การคลัง วิชาชีพธุรกิจ การก่อสร้าง โทรคมนาคม และการท่องเที่ยว)เพื่อให้ประเทศสมาชิกเปิดเสรี ด้านการบริการ มากกว่าที่ผูกพันไว้ในกรอบ WTO ขณะนี้ อาเซียนได้เริ่มเจรจารอบใหม่โดยมี เป้าหมายให้การเปิดเสรี ครอบคลุมทุกสาขาการบริการ (รวม 12 สาขา) ภายในปี ค.ศ. 2020
มีการร่นเวลาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) จากเดิมปี ค.ศ. 2010 เป็นปี ค.ศ. 2003 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อ จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนที่มีความได้เปรียบและดึงดูดการลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยครอบคลุมการ ลงทุนโดยตรงทั้งหมดยกเว้นการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ประเทศ สมาชิกอาเซียนจะต้องเปิดอุตสาหกรรม (Market Access) ในทุกสาขาที่ไม่มีการขอยกเว้นไว้ และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่นักลงทุนอาเซียน กล่าวคือคนชาติของรัฐสมาชิกหรือนิติบุคคลของรัฐสมาชิก โดยทันทีสำหรับ 7 ประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ความตกลง AIA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2542 ซึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการขอยกเว้นชั่วคราว ประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกภายในปี ค.ศ. 2003 มีการกำหนดมาตรการ เชื่อมโยง เส้นทางถนนหลวง 23 สาย สนามบินศุลกากร 36 แห่ง และท่าเรือ 46 แห่งทั่วภูมิภาค ให้อยู่ในระบบ โครงข่าย การขนส่งอาเซียน และจะมีการ อนุญาตและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการขนส่งใน แต่ละประเทศสามารถดำเนิน การขนส่งสินค้าผ่านแดน (Goods in Transit) ทั่วอาเซียนภายในปลายปีนี้ โดยจะขยายไปถึงการขนส่ง ข้ามแดน (Inter-state Transport) และการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal Transport) ด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ มีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร แก่บริษัทต่างๆ ในอาเซียนที่มีการ แลกเปลี่ยนวัตถุดิบ/ส่วนประกอบระหว่างกันเพื่อนำไปผลิตสินค้าสำเร็จรูป /กึ่ง สำเร็จรูปตามโครงการ ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม (AICO) แล้ว 40 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการผลิต รถยนต์ของ บริษัทญี่ปุ่น
การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนดังกล่าวข้างต้นมีผลในทางบวกต่อการค้าและการลงทุนอย่างชัดเจน โดยตลาดอาเซียนมีประชากรถึง 500 ล้านคน มีผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) รวมกันประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการค้าภายในภูมิภาคได้ ขยายตัวจาก 44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2536 (ก่อนความตกลง AFTA มีผลบังคับใช้) เป็น 73.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 และมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติโดยเฉลี่ยต่อปีได้ขยายตัวเช่นกันจาก 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2529-2534 เป็น 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2536-2540
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของ อาเซียน อาทิการรับประเทศสมาชิกใหม่ซึ่งทำให้ตลาดของอาเซียนใหญ่ขึ้นแต่ในขณะเดียวกันก็แบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม (two-tier) โดยปริยายเนื่องจากระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันมาก วิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจและการเงินใน เอเชีย ก็ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศสมาชิกและต่อขีด ความ สามารถในการดำเนินโครงการ ที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากอีกทั้งถูกใช้เป็นข้ออ้างโดยภาค เอกชนในท้องถิ่นให้มีการชะลอการเปิดเสรีทาง การค้าสินค้าและบริการด้วย นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ ความพยายามที่จะให้ มีการค้ารอบใหม่ ในกรอบ WTO การเร่งเปิดเสรีในกรอบ APEC และการที่ จีนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญทางการค้า และการลงทุนของ อาเซียนล่าสุด มีบางประเทศที่เริ่มขอชะลอการ ลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าบางรายการในรายการยกเว้น การลดภาษีชั่วคราว
(Temporary Exclusion List : TEL) ซึ่งมีกำหนดจะต้องนำเข้าสู่กระบวนการลดภาษี ภายในปี ค.ศ. 2000 นี้ และทยอยลดภาษีให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2002 ตามพันธกรณีภายใต ้ AFTA แล้ว โดยมาเลเซียขอชะลอ การลดภาษีสำหรับสินค้าชุดประกอบรถยนต์ (Completely Knocked-Down: CKD) และรถยนต์ประกอบแล้ว (Completely Built-Unit: CBU) โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซีย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจจึงต้อง มีการปกป้อง ไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งไทยได้พยายามขอให้มาเลเซีย ทบทวนท่าทีดังกล่าวมาโดย ตลอดเพราะเห็นว่าประเทศสมาชิก ควรต้องปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้น จะเป็นการสร้าง กรณีตัวอย่าง และส่งผลกระทบต่อภาพพจน์และความน่าเชื่อถือ ของอาเซียน นอกจากนั้น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ได้แจ้งว่าจะขอ ชะลอการลดภาษีสำหรับสินค้าน้ำตาล ซึ่งอยู่ใน รายการ TEL โดยจะขอโอนย้าย ไปสู่รายการสินค้าอ่อนไหว (sensitive list) แทนซึ่งกำหนดจะต้องเริ่มลดภาษี ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 2001-2003 โดยทยอยการลดภาษี ให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2010
ความร่วมมือด้านสังคม
ความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนในปัจจุบันมี ความหลากหลายมาก รวมถึงการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็วสืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ กอรปกับค่านิยมของ ประชาชนทั่วภูมิภาคที่เริ่มมี ความคาดหวังในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิขั้น พื้นฐานอื่นๆ มากขึ้น ตลอดจน ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจที่ได้สร้างปัญหาการว่างงานและ ความยากจนที่ขยายช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนมากยิ่งขึ้น อาเซียนจึงได้เริ่มให้ความสำคัญลำดับต้น ต่อการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม และการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์
เพื่อให้ ASEAN สามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นและในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการ เสริมสร้าง รากฐาน แห่ง ความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคในกรอบอาเซียน อาเซียนจำเป็นต้อง ผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริง ของประชาชน จึงได้ให้ความสำคัญ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
เสริมสร้างบทบาทของเวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก ให้เป็นกลไกป้องกันแก้ไขความขัดแย้งในภูมิภาค ตลอดจนพัฒนา บทบาท และการมีส่วนร่วมของ อาเซียนในการแก้ไข ป้องกันปัญหาหรือสถานการณ์ในภูมิภาคได้อย่างทันเหตุการณ์ ซึ่งในเรื่องนี้ ไทยได้เสนอ ให้มีการจัดตั้ง กลุ่มผู้ประสานงาน อาเซียน (ASEAN Troika) เพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริม ให้อาเซียนสามารถ เผชิญสิ่งท้าทายต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อขยายการค้าภายใน ภูมิภาคและ ชักจูงการลงทุน จากต่างชาติ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง ทางเศรษฐกิจของอาเซียน อย่างต่อเนื่อง และต้องมีการพิจารณาแนวทางความร่วมมือ รูปแบบใหม่ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน ต่อเนื่องจากที่มีีการจัดตั้ง AFTA และ AIA แล้วในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งในเรื่องนี้ อาจรวมถึงการเปิดเสรีเต็ม รูปแบบ สำหรับสินค้าบางรายการที่อาเซียนมี ขีดความสามารถ ในการแข่งขันสูงระดับโลก (ASEAN Product Community) และการเปิดเสรีทาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ภายใน อาเซียน เป็นต้น
เสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศ/กลุ่มประเทศนอกภูมิภาคเพิ่มเติมจากกรอบ APEC และกับ สหภาพยุโรปในกรอบ ASEM โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ประเทศในเอเชียตะวันออก ในกรอบ ASEAN+3: East Asia Cooperation ซึ่งเป็นดำริจากที่ประชุมสุดยอด ระหว่างผู้นำอาเซียน และผู้นำจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เมื่อเดือน พฤศจิกายน ศกนี้ และการพัฒนาความร่วมมือ กับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจระหว่าง ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เป็นต้น
เร่งรัดความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลุ่มน้ำโขง โดยรณรงค์ให้ช่วงระหว่าง ปีค.ศ. 2000-2010 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศในลุ่มน้ำโขง เพื่อยก ระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน ในประเทศสมาชิกใหม่และสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ เหล่านี้ให้สอดคล้องกับ ตลาดของอาเซียน ทั้งนี้ โดยระดมความร่วมมือจากประเทศนอก ภูมิภาค องค์การระหว่าง ประเทศและภาคเอกชนด้วย
ร่วมกันเสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อเป็นมาตรการเสริมการ พัฒนาเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการขจัดความยากจน การเพิ่มการจ้างงานที่มีผลผลิตที่สูงขึ้น และการ คุ้มครอง กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม ทั้งนี้ โดยระดมความร่วมมือและการสนับสนุนจากต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และองค์การที่มิใช่ของ รัฐบาลด้วย
เร่งกำหนดแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นการ พัฒนาขีดความ สามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อสามารถปรับตัวเข้ากับวิทยาการสมัยใหม ่ ่และสภาพทางเศรษฐกิจตลอดจน ความต้องการของภาคธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ โดยการร่วมมือกับประเทศที่สามในลักษณะของ ความร่วมมือทวิภาคี ความร่วมมือ ในกรอบ เหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือสามเส้า นอกจากนั้น ต้องมีการร่วมมือด้านการศึกษา ในระดับ ภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดทำเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน(ASEAN University Network) เพื่อเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยของ ภูมิภาค และการพิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัย ASEAN Virtual University เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของมหาวิทยาลัย และ สถาบัน วิจัยโดยใช้ อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลอื่นๆ
ตลอด 33 ปี ที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าอาเซียนได้วิวัฒนาการมาจากสภาวะความจำเป็นทางการเมือง เพื่อเป็นเวที ความร่วมมือในการเสริมสร้าง สันติภาพและความมั่นคงให้บังเกิดขึ้นในภูมิภาค โดยต่อมาอีกระยะหนึ่งเมื่อ สถานการณ์ทางการเมืองและ ความมั่นคงเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาเซียนก็ได้มุ่งเน้นความสนใจไปส่ ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยมีการจัดตั้ง AFTA เพื่อนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ สมาชิกในสภาวะที่การแข่งขันทาง การค้าระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น โดยจนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจของอาเซียน ได้ขยาย เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก และขณะนี้ อาเซียนได้เริ่มให้ความสนใจ มากขึ้นที่จะร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม และปรับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และกำลังจะหาทางพัฒนา ความร่วมมือในเชิงคุณภาพเพื่อให้ทุกฝ่าย และสังคมทุกระดับมีจิตสำนึกของความเป็น ประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น โดยให้อาเซียนเป็นองค์กรการที่สามารถเข้าถึง และตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในภูมิภาคนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศ สมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการ แบ่งประเภท อุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิก ทำการ ผลิตโดยไม่มีการผลิต แข่งขันกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
1. ด้านการค้า ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือยกเว้นภาษีที่ ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจาก ประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา (AFTA : ASEAN Free Trade Area)
2. ด้านอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับ ทดแทนสินค้า ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือก ทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหิน และโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิต แร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดง แปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิต ปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือ ระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วน รถยนต ์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิต สินค้าอุตสาหกรรม โดย ผู้ผลิตจะต้องเป็น บริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศ สมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ
3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลง ร่วมมือกันในด้าน การจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัย แห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและ ป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือ กับประชาคมยุโรปในการ จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนา ระหว่างอาเซียนกับอีอีซี
4. ด้านการเกษตร อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหาร เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งกัน และกันในยาม ขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการ จัดการเกี่ยวกับ อาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโนโลยี การประมง ภายใต้ ความร่วมมือของ อาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือ ของอาเซียน-อีซี โครงการ จัดตั้งด่านกักกันโรคพืช และสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์ และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูก ป่า และโครงการตลาดของ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมี โครงการอื่นที่อยู่ใน ระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก
5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์ และโทรคมนาคม
6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมา สนใจ และช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทย เกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง ประเทศสมาชิกซึ่งเป็น การส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น
เพลงอาเซียน
- The ASEAN Way
- Raise our flag high, sky high
- Embrace the pride in our heart
- ASEAN we are bonded as one
- Looking out to the world.
- For peace, our goal from the very start
- And prosperity to last.
- We dare to dream we care to share.
- Together for ASEAN
- we dare to dream,
- we care to share for it’s the way of ASEAN
โดยมีคำแปลว่า
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน
และเนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล>
ซึ่งเนื้อเพลงได้สะท้อนความสำคัญตามเสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักคือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยเพลงนี้มาจากการจัดประกวดให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนบทที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติ เบื้องต้นและจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551