[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ข้อมูลพื้นฐานตำบลหนองปรือ:  แหล่งเรียนรู้ราคาถูก ประจำตำบลหนองปรือ

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลหนองปรือ
ข้อมูลทั่วไปตำบลหนองปรือ
1) ประวัติความเป็นมาตำบลหนองปรือ
ตำบลหนองปรือเป็นตำบลที่เก่าแก่ ตั้งมาประมาณ 100 ปี เริ่มจากมีชุมชนเล็ก ๆ เข้ามาอยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากตำบลวัดหลวงและตำบลไร่หลักทอง อาชีพดั้งเดิมคือ การทำไร่และเลี้ยงนก
คำขวัญประจำตำบลคือ ต้นปรือคู่บ้าน จักสานขึ้นชื่อ เลื่องลือบุญประเพณี มั่งมีพืชเศรษฐกิจ วิถีชีวิตพอเพียง            
2) สภาพทั่วไปตำบลหนองปรือ 
2.1 ลักษณะภูมิศาสตร์ อาณาเขต
ตำบลหนองปรือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอพนัสนิคม มีระยะทางจาก            
อ.พนัสนิคมถึง อบต.หนองปรือ  ประมาณ  10  กิโลเมตร  ตามถนนสายพนัสนิคม - หัวถนน                 
หมู่ที่ 8   อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชลบุรี  ประมาณ  30  กิโลเมตร  โดยมีพื้นที่รวม  21,897  ไร่         
หรือ 32.66 ตารางกิโลเมตร   มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ
จำแนกอาณาเขตติดต่อของตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นดังนี้
ทิศเหนือ                             ติดต่อกับ               ตำบลหัวถนน                                
ทิศใต้                                 ติดต่อกับ               ตำบลหนองเหียง                                
ทิศตะวันออก                      ติดต่อกับ               อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา                               
ทิศตะวันตก                        ติดต่อกับ               ตำบลไร่หลักทอง
 2.2 เนื้อที่มีพื้นที่ 21,897 ไร่ หรือ 32.66 ตร.กม.
2.3 ภูมิประเทศ   ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม 40% ที่ดอน  20 % และที่ดอนสูง  40 % ลักษณะสภาพอากาศร้อนชื้น มี 3 ฤดู ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
2.4 จำนวนหมู่บ้าน   10 หมู่บ้าน
 
2.2 ประชากร
ตำบลหนองปรือ มีประชากรรวม 5,232 คน เป็นประชากรชาย 2,628 คน ประชากรหญิง2,604 คน   ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนาอื่นเป็นส่วนน้อย   
               
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,266 ครัวเรือน ประกอบด้วย 
                หมู่ที่ 1                   มี             54          ครัวเรือน
                หมู่ที่ 2                   มี             170         ครัวเรือน
หมู่ที่ 3                   มี             60           ครัวเรือน
                หมู่ที่ 4                   มี             63           ครัวเรือน
                หมู่ที่ 5                   มี             150         ครัวเรือน
                หมู่ที่ 6                   มี             127         ครัวเรือน
                หมู่ที่ 7                   มี             150         ครัวเรือน
หมู่ที่ 8                   มี             187         ครัวเรือน
หมู่ที่ 9                   มี             210         ครัวเรือน
หมู่ที่ 10                 มี             95           ครัวเรือน
 
2.3 สภาพทางเศรษฐกิจ  (การประกอบอาชีพ)
การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 90) ของตำบลหนองปรือประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก โดยอาชีพการเกษตรส่วนใหญ่คือ อาชีพการทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และพืชสวนผลไม้ ตามลำดับนอกจากนั้นประชากรยังมีอาชีพเสริม คือ อาชีพจักสาน อีกทั้งมีการโยกย้ายแรงงานวัยทำงานไปยังโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่
หน่วยธุรกิจในเขต อบต. 7 แห่ง
- โรงสี " สมพงษ์ รุ่งธัญญา " หมู่ที่ 6
- โรงงาน " กรุงเทพถาดไข่บรรจุภัณฑ์" หมู่ที่ 10
- โรงงาน ขนมปัง "บริษัทคงหงวนบิสกิต แฟคเตอร์รี่(ไทยแลนด์) จำกัด หมู่ที่ 8
- โรงงาน "บริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จำกัด " หมู่ที่ 10
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม ตราศรีทอง หมู่ที่ 6
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม ตราพลอย หมู่ที่ 9
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม ตราดิว หมู่ที่ 2
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
- เครื่องจักสาน เช่น ตะกร้าไก่ , กล่องใส่กระดาษทิชชู่ , ตะกร้าใส่ของขวัญ แจกันเซรามิค ฯลฯ
2.4. สภาพทางสังคม การศึกษา
มีโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
1. โรงเรียนบ้านหนองปรือ   หมู่ที่ 1 ( อนุบาล - ป.6 )
2. โรงเรียนวัดทรงธรรม   หมู่ที่ 2 ( อนุบาล - ป.6 )
3. โรงเรียนบ้านทรายมูล   หมู่ที่ 9 ( ป 1. - ป.6 )
4. โรงเรียนบ้านหนองไผ่   หมู่ที่ 7 ( อนุบาล - ป.6 )

มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรือ หมู่ที่ 1
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทรงธรรม หมู่ที่ 2
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 7
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทรายมูล หมู่ที่ 9
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองไก่เถื่อน หมู่ที่ 8
 สถาบัน และองค์การศาสนา
   มีวัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง คือ
1. วัดหนองปรือ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1
2. วัดทรงธรรม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2
3. วัดใหม่ทรายมูล ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 9
4. วัดหนองไผ่ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7
5. วัดหนองไก่เถื่อน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8
6. วัดสระลอยปทุมมาวาส ตั้งอยู่ที่หมู่ที่  4
 การสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบลหนองปรือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านหนองไผ่
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ                        ครบ     100 %
 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจประจำตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านเกาะกลาง
2.5 การบริการพื้นฐาน
 การคมนาคม
                การคมนาคม การคมนาคม ตำบลหนองปรือมีเส้นทางคมนาคม ถนนมีทั้งลาดยางและถนนลูกรังสภาพถนนลาดยางอยู่ ในสภาพที่ดี ถนนลูกรังมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อบ้างการเดินทางประชาชน ส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนบุคคล
1) การคมนาคม ถนนลาดยาง 6 สาย
1. สายพนัสนิคม-หนองปรือ
2. สายบ้านเหนือบ่อกรุ-บ้านทรงธรรม
3. สายบ้านทรงธรรม- บ้านทราย
4. สายบ้านทรงธรรม-บ้านหนองไผ่
5. สายหนองสะแก - หนองเซ่ง- 331
6. สายบ้านหนองปรือ- บ้านหนองไผ่
2) ถนนลูกรัง 4 สาย
1. สายบ้านหนองไผ่- บ้านหนองเซ่ง
2. สายบ้านเนินตูม- บ้านหนองไผ่
3. สายทางหลวง 331-บ้านชุมนุมยาง
4. สายทางหลวง 331 - บ้านแปรงปรก หมู่ที่ 8
3) ทางหลวงแผ่นดิน
ทางหลวงแผ่นดิน ผ่าน 1 สาย ได้แก่ทางหลวงแผ่นดินสาย 331
ผ่านตำบลหนองปรือ ระยะทาง 3 กม. ใช้เดินทางจาก จ.ชลบุรี ถึง จ.นครราชสีมา
 การโทรคมนาคม
-                   มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ   10  ตู้  กระจายไปตามหมู่บ้านต่างๆ
ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตประจำตำบล        
-                   มีจำนวน   1  แห่ง
การไฟฟ้า
-                   ประชาชนในตำบลหนองปรือ  มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน อัตราการใช้ไฟฟ้าคิดเป็น
ร้อยละ 100  ของพื้นที่ทั้งหมด
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติในตำบลหนองปรือที่สำคัญ มี 4 แห่ง
ชื่อลำน้ำ                                                                ไหลผ่านหมู่บ้าน
 คลองพระครู                                                      หมู่ที่ 1,3 และ 4 
 คลองขุดส่งน้ำจากทำนบท่าฉิม                        หมู่ที่ 1,2,3,4 และ 5
 คลองขุดระบายน้ำ                                              หมู่ที่ 2,5,6
 คลองหนองเม็ก                                                 หมู่ที่ 8                     
ประปา   มีประปาหมู่บ้านจำวน 8  แห่ง   แยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
ที่
ประปาชนบท  มี   7  แห่ง
ตั้งอยู่หมู่ที่
หมู่บ้านที่ใช้น้ำ
ขนาดถังบรรจุ
1.
ประปาบ้านเนินตูม
6
6
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
2.
ประปาบ้านทรงธรรม
2
2
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
3.
ประปาบ้านหนองไก่เถื่อน
8
8
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
4.
ประปาบ้านเหนือบ่อกรุ
5
5
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
5.
ประปาบ้านหนองปรือ
1
1,3,4
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
6.
ประปาบ้านหนองไผ่
7
7
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
7.
ประปาบ้านหนองเซ่ง
10
10
ขนาดหอถังสูง 20  ลบม.
8.
ประปาบ้านทรายมูล
9
9
ขนาดถัง 30 ลบม.(กรมอนามัย)
 
2.6 วัฒนธรรม ขนมธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น
ประเพณีที่สำคัญมีดังนี้
-                   ประเพณีทำบุญกลางบ้าน
งานบุญกลางบ้านเกิดมาพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชน การทำบุญกลางบ้านเป็นงานบุญที่น่าสนใจและแปลกออกไปจากการทำบุญอื่น ๆ ซึ่งแทนจะทำบุญกันที่วัด ที่อาคารหรือที่บ้าน แต่จะทำบุญบริเวณลานกว้างกลางหมู่บ้าน อันเป็นที่สาธารณะ หรือลานวัด หรือลานท้องนา โดยนำเอาความเชื่อถือเรื่องผีแบบโบราณเข้ามาผสมกับพิธีทางพุทธศาสนา คือ สวดมนต์เย็น (สวดพระปริตร) ในบริเวณพิธีและในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นมีการสวนมนต์ทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ ซึ่งตำบลหนองปรือของเรานี้จะมีการทำบุญกลางบ้านกันประมาณกลางเดือน เจ็ด(ขึ้น 15 ค่ำ) หมู่บ้านที่ทำได้แก่   หมู่ที่ 1 บ้านหนองปรือ 
งานประเพณีอนุรักษ์สงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ วันที่ 14 เมษายน
- งานมหกรรมกีฬาเทิดพระเกียรติต้านยาเสพติด ระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคมของทุกปี
- งานจุดเทียนชัยถวายพระพร 5 ธันวามหาราช ทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
2.7 ข้อมูลอื่น ๆ
 กลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในตำบลหนองปรือ

- กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 800 คน
- กองทุนแม่ของของแผ่นดิน 120 คน
- กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านทรงธรรม 62 คน
- กลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองเซ่ง 57 คน
- กลุ่มเยาวชนตำบลหนองปรือ 80 คน
- อปพร.ตำบลหนองปรือ 55 คน
- กลุ่มพัฒนาสตรี ต.หนองปรือ 110 คน
- กลุ่มเยาวชนเกษตร ร.ร.วัดทรงธรรม 45 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองปรือพัฒนา 45 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรงธรรม 35 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเนินตูมพัฒนา 48 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา 75 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองไก่เถื่อนพัฒนา 55 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเซ่งพัฒนา 56 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหนือบ่อกรุ 44 คน
- กลุ่มผู้ปลูกข้าวพันธุ์ดี 25 คน
- กลุ่มศูนย์ส่งเสริมและผลผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน 35 คน
- กลุ่มไร่นาสวนผสม 10 คน
- กลุ่มผู้ใช้น้ำกลุ่มเกษตรกร ต.หนองปรือ 46 คน
- กลุ่มผู้เลี้ยงกบ ต.หนองปรือ 36 คน

3) ความเป็นมา กศน.ตำบลหนองปรือ
                จากการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561) รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่อง
การศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้
ตลอดชีวิตทั้งในการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพใน
ทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมี
คุณภาพ โดยเฉพาะได้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ ตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระทรวงศึกษาธิการ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญ
ในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบลขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลยุคใหม่
ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการดำเนินงานโดยการผลักดันงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งแก่ กศน.
ตำบล และได้มอบให้สำนักงาน กศน.เร่งรัดพัฒนาและเดินหน้าไปสู่ความเป็นศูนย์การเรียนรู้การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของชุมชน เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีพลังแห่งการเรียนรู้
ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างแท้จริง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในเดือนกันยายน 2553 จะมี กศน.ตำบลครบทั้ง 7,409 ตำบลทั่วประเทศ และได้ทำพิธีเปิดตัว กศน.ตำบล
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2552 ณ อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
                กศน.ตำบลหนองปรือ เดิมชื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 3 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชนเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2546 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กศน.ตำบลหนองปรือ : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก และย้ายที่ทำการมาที่ อาคารสาธารณสุขมูลฐาน หมู่ที่ 1 ต.หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี และมีพิธีเปิดกศน.ตำบล เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ราคาถูก ประจำตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ตามคำสั่งสำนักงานกศน.จังหวัดชลบุรีที่ 172 / 2553 โดยให้คณะกรรมการ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก ประจำตำบลมีหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ.2553 ข้อ 9 และข้อ 10 ได้แก่ วางแผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์งาน จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์พื้นฐาน บริหารและจัดกิจกรรม กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนอื่นๆ ในตำบลประสานกับส่วนราชการในตำบล ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนำแผนชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
 
4) สภาพปัญหาของชุมชน
        1. ประชาชนขาดการศึกษาที่ต่อเนื่อง
        2. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
3. ปัจจุบันได้เริ่มมีปัญหาการลักขโมยทรัพย์สิน
                4. ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
         5. ขาดการรวมกลุ่มและแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ
 
5) สภาพความต้องการของชุมชน
                1. การยกระดับการศึกษาพื้นฐานประชาชนในตำบล
                2. การรวมกลุ่มในการพัฒนาอาชีพของประชาชนในตำบล
                3. การเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของประชาชนในตำบล
                4. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนในตำบล
 
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน กศน.ตำบล
1. การบริหารจัดการ
1.1 ด้านกายภาพ
จุดแข็ง  
1.             อาคาร กศน.ตำบล มีความเป็นเอกเทศ
2.             การคมนาคมสะดวก อยู่กลางชุมชน
จุดอ่อน
1.             ขาดสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ในการดำเนินงาน กศน.ตำบล
2.             เป็นอาคารโล่ง ไม่มีห้องสำหรับเก็บ วัสดุสำนักงาน
1.2 ด้านบุคลากร
จุดแข็ง
1.             มีการจัดตั้งคณะกรรมการ กศน.ตำบล ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน.ที่กำหนด
2.             ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล
3.             มีการอบรมพัฒนาความรู้ หัวหน้างาน กศน.ตำบล อย่างต่อเนื่อง
จุดอ่อน
1.             บุคลากรมีที่พักอยู่ต่างพื้นที่ ระยะทางและใช้เวลาในการเดินทางมาก ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาได้
 
2.กิจกรรมหลัก กศน.ตำบล
2.1 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center)
จุดแข็ง
1.             มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจลงนาม
2.             มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ กศน. ตำบล ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจลงนาม
3.             มีข้อมูลสารสนเทศครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
จุดอ่อน
1.             ขาดการจัดแสดงข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นป้าย เอกสาร
2.             ยังไม่มีระบบอินเทอร์เน็ตในการให้บริการสืบค้นข้อมูล
 
2.2 ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
จุดแข็ง
1.             จัดทำเว็บไซด์ กศน.ตำบล
2.             การดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ตำบลมีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของชุมชน
3.             ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมการวางแผนจัดกิจกรรม กศน.ตำบล
จุดอ่อน
1.             ขาดมุมการส่งเสริมร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ)
ศูนย์การเรียนรู้ ICT
2.             ยังไม่มีคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตให้บริการในการสืบค้นข้อมูล
3.             ขาดการรวบรวมองค์ความรู้ภาคีเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้
 2.3 ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
จุดแข็ง
        1.   ดำเนินการจัดกิจกรรม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัย
ใน กศน.ตำบล
2. มีแหล่งการเรียนรู้ในตำบลที่หลากหลาย
3. มีการจัดตั้งอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
4. มีการจัดตั้งอาสาสมัครกศน.
จุดอ่อน
1.             ขาดบริการให้ยืมสื่อในการจัดการเรียนการสอน
2.             หนังสือที่มีเพียงพอต่อความต้องการของผู้มาใช้บริการ
3.             ขาดมุมให้บริการ Student Channel ใน กศน.ตำบล
4.             ขาดมุมให้บริการการศึกษาทางไกล (ETV) ให้กับนักศึกษา กศน.
 
2.4 ศูนย์ชุมชน (Community Center)
จุดแข็ง
1.              ดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ตำบลร่วมกันกับภาคีเครือข่าย
2.    จัดและส่งเสริมกิจกรรมศาสนา วัฒนธรรม
จุดอ่อน
1.              ขาดมุมสถานที่พบปะเสวนาชุมชน
 
3. จุดแข็งจุดอ่อนของชุมชน
จุดแข็ง
1.             ประชาชนอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนมีความสามัคคี
2.             การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วจากหอกระจายข่าว สื่อสิ่งพิมพ์
3.             วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นมีความเป็นเอกลักษณ์
4.             วัฒนธรรมสังคมในชุมชนเป็นแบบเครือญาติ
5.             แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญามีความหลากหลาย
6.             การคมนาคมมีความสะดวกในการเดินทาง
7.             ประชาชนมีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือยรู้จักใช้จ่าย
จุดอ่อน
1.             ชุมชนบางส่วนขาดการมีส่วนร่วม มุ่งการทำงานเป็นหลัก
2.             ประชาชนขาดการศึกษาที่ต่อเนื่อง
3.             ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวไม่มีอาชีพเสริมรองรับ
4.             ขาดแคลนแหล่งน้ำธรรมชาติ
แนวทางการพัฒนา
                1.    การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเชิงรุกให้ครอบคลุมพื้นที่
                2.    การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                3.    การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                4.   การพัฒนาหลักสูตร กศน. ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการกลุ่มเป้าหมาย
                5.   จัดและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้หลากหลาย

คณะกรรมการ กศน.ตำบล

นายสมานมิตร       เหลืองอ่อน             นายก อบต.หนองปรือ                          ประธานกรรมการ
นายรังสรรค์           พวงภู่                      อดีตนายก อบต.หนองปรือ                  กรรมการ
นายประสาน         เทียนปลั่ง               ประธานวัฒนธรรม                              กรรมการ
นายประยงค์          บุญเทศ                  สมาชิกอบต. หมู่ 6                              กรรมการ
นายพะนอ              สืบแก้ว                   สมาชิกอบต. หมู่ 9                               กรรมการ
นายอำไพ               พวงภู่                      สมาชิกอบต. หมู่ 7                                กรรมการ
นายประเมิน          แนวอินทร์               สมาชิกอบต. หมู่ 2                                กรรมการ
นายประสาท         เกลาเกลี้ยง            สมาชิกอบต. หมู่ 8                              กรรมการ
นายสงบ                 เกลาเกลี้ยง            กำนันตำบลหนองปรือ                         กรรมการ
นางรัก                    เหรียญทอง            แพทย์ประจำตำบล                             กรรมการ
นายชูชาติ               พืชพันธุ์ไพศาล      ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2                                    กรรมการ
นายภูวนารถ          กรณียกิจ              ครูอาสาสมัครฯ                                     กรรมการ
นายวัชรินทร์          อุดานนท์               ครูอาสาสมัครฯ                                     กรรมการ
นางสาวชัญญานุช                พิทักษ์เมฆา           หัวหน้า กศน.ตำบลหนองปรือ             กรรมการและเลขานุการ





 
 กศน. ตำบลหนองปรือ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี
ต. หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี  โทรศัพท์ 0-3847-4970 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   chonnfe   Version 2.03