โครงการยกระดับการศึกษา จบ ม.6 ภายใน 8 เดือน
คุณสมบัติของผู้เข้าเทียบระดับการศึกษา
๑ มีสัญชาติไทย
๒ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่สมัครรับการประเมิน
๓ มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา
๔ ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบ หรือ การศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ
๕ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า ๓ ปี
๖ ประกอบอาชีพในเขตบริการของสถานศึกษาที่สมัครเข้าเทียบระดับการศึกษา
ขอบข่ายการประเมิน
๑ มาตรฐานการประเมิน ดำเนินการประเมินตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบระดับการขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๘ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานด้านความดี
๑) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเป็นพลเมืองดี
๒) ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
มาตรฐานด้านความสุข
๓) ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการชุมชน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔) ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการ๕) ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการถนอมอาหารเพื่อครอบครัวและชุมชน
มาตรฐานด้านความเก่ง
๖) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานการใช้โปรแกรมและดูแลบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
๗) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
๘) ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
๙) ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและการบริหารจัดการในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต การตลาดและการบริโภคนำไปสู่ธุรกิจ SMEs
๑๐) ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการประกอบอาชีพ
๑๑) ความรู้ ความเข้าใจด้านประชาคมอาเซียน และ ประชาคมโลก
๑๒) เข้าใจกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน
๑๓) สนทนาภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและงานอาชีพ
๑๔) การสนทนาภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๑๕) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
๑๖) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการวิจัยชุมชน
๑๗) ความรู้ ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าอาหารของครอบครัวและชุมชน
๑๘) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
รายวิชาในการเรียนรู้ มี ๔ Module ๙ รายวิชา คือ
Module ๑ เครื่องมือสร้างความรู้สู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย ๓ รายวิชา ดังนี้
(๑) วิชาการใช้คอมพิวเตอร์
(๒) วิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
(๓) วิชาการบริหารธุรกิจ SMEs
Module ๒ พัฒนาองค์กร ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย ๒ รายวิชา ดังนี้
(๑) วิชาระบอบประชาธิปไตย
(๒) วิชาการบริหารจัดการชุมชน
Module ๓ การสื่อสาร ประกอบด้วย ๒ รายวิชา ดังนี้
(๑) วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน
(๒) วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Module ๔ วิจัยชุมชน และทั่วไป ประกอบด้วย ๒ รายวิชาดังนี้
(๑) วิชาการวิจัยชุมชน
(๒) วิชาการจัดการอาหารเพื่อครอบครัว และชุมชน
ขั้นตอนการเทียบระดับการศึกษา
การประเมินเทียบระดับการศึกษา มีขั้นตอน ตามแผนภาพข้างล่าง พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่สถานศึกษาให้เห็นขั้นตอนการดำเนินงานในรอบ ๘ เดือน ว่ามีกระบวนการและกิจกรรมที่ดำเนินการใดบ้าง สถานศึกษาสามารถปรับขั้นตอนต่างๆให้สอดคล้องกับบริบทตามความเหมาะสมของสถานศึกษาได้
เข้าชม : 284103
|