[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

บทความทั่วไป
เรื่อง การป้องกัน และกำจัดโรครากในยางพารา

พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน กันยายน พ.ศ.2556

เรื่อง การป้องกัน และกำจัดโรครากในยางพารา 
มารู้จักกับโรครากกันเถอะ 
            โรคที่เกิดกับระบบรากของยางพาราในประเทศไทยที่สำคัญ มี 3 ชนิด คือโรครากขาว(white root disease) โรครากน้ำตาล (brown root disease) และโรครากแดง (red  root disease) มีสาเหตุจากเชื้อราชั้นสูงจำพวกเห็ด  โรครากขาวเป็นโรครากที่สำคัญที่สุดของยางพารา พบทำความเสียหาย และแพร่กระจายทั่วไปในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ของประเทศไทย
ความสำคัญ 
            ทำลายระบบรากทำให้ต้นยางที่เป็นโรคตาย หากปล่อยไว้โดยไม่จัดการทำให้มีการแพร่ลุกลาม  เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตน้ำยาง และไม้ยางมากขึ้นทุกปี นอกจากนี้จะกระทบต่อแปลงปลูกใหม่ทำให้ต้นยางปลูกใหม่เป็นโรครุนแรงมากกว่าเดิม ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวงในอนาคต
การสูญเสียรายได้ผลผลิตน้ำยาง  และไม้ยาง
                ผลผลิตน้ำยาง  1 ไร่ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 280 กิโลกรัม/ปี
                - ได้รายได้ประมาณ 19,600 บาท/ไร่/ปี (ราคา 70 บาท/กก.)
                -  ต้นยาง 1 ต้น ได้รายได้ 19,600 บาท /70 ต้นต่อไร่  = 280  บาท/ต้น/ปี
หากไม่มีการจัดการ โอกาสที่จะมีต้นยางตายเพิ่มปีละประมาณ  25% ของต้นที่ตาย
                ตัวอย่าง สวนยางอายุ 8 ปี ในปี 2551 พบมีต้นยางตาย 20 ต้น  จะสูญเสียรายได้ประมาณ 5,600 บาท และหากกรีดต่อไปจนยางอายุ 18 ปี แล้วโค่นปลูกใหม่ จะสูญเสียรายได้ดังตาราง 
ปี
จำนวนต้นตายเพิ่ม
รวมต้นตาย
รายได้จากน้ำยาง
2551(8 ปี)
-
20
5,600
2552
5
25
7,000
2553
6
31
8,680
ข้อสังเกตต้นยางพารา และแปลงยางที่เป็นโรคราก 
           1. แปลงปลูกยางมีต้นยางยืนต้นตาย และมีพื้นที่ว่างเป็นหย่อมๆ
          2. มีต้นยางที่ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในบางกิ่งหรือทั้งทรงพุ่ม โดยในต้นยางขนาดเล็กจะพบใบยางส่วนล่างแสดงอาการผิดปกติก่อน ใบยางที่ผิดปกติเนื่องจากโรครากจะมีลักษณะขอบใบห่อลงเล็กน้อย ใบค่อนข้างหนาเป็นคลื่นเล็กน้อย และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อระบบรากถูกทำลายอย่างรุนแรงจะทำให้พุ่มใบยางเหลืองทั้งต้น ใบร่วง และยืนต้นตาย
สวนยางที่เป็นโรค     
สวนยางที่เป็นโรค
 
 
ยางอายุ 1.5 ปี 
สวนยางที่เป็นโรคราก
3. ที่โคนต้นและราก จะพบเส้นใยของเชื้อราเจริญปกคลุม     ในช่วงที่มีความชื้นสูงอาจพบดอกเห็ด
4. ในต้นยางที่ปลูกใหม่ หากพบต้นยาง อายุน้อยกว่า 2 ปี แสดงอาการใบเหลืองและยืนต้นตายเนื่องจากโรคราก มักพบตอไม้หรือตอยางเก่าบริเวณใกล้เคียง 
โรคราก แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้ 
1.   โรครากขาว(White root disease)
            ในแปลงยางปลูกใหม่มักพบการระบาดของโรครากขาวเป็นอันดับแรก โรคลุกลามและระบาดได้เร็ว ทำความเสียหายแก่สวนยางได้มากกว่าโรครากชนิดอื่น
       เชื้อสาเหตุ
            เชื้อรา  Rigidoporus microporus (Sw.) Overeen    (1924)
                  [ R. lignosus (Klozsch) Imazeki] (1952)
 ลักษณะอาการ
                หากในแปลงปลูกมีแหล่งเชื้อเดิมอยู่สามารถพบต้นยางเป็นโรคได้ตั้งแต่เริ่มปลูก เมื่อระบบรากถูกทำลายจะแสดงอาการให้เห็นทางใบ
          ลักษณะโคนต้นและรากที่เป็นโรค จะเห็นเส้นใยของเชื้อราชัดเจน โดยเส้นใยอ่อนมีลักษณะสีขาวค่อนข้างหยาบ ปลายแบน เส้นใยแก่มีลักษณะเป็นเส้นกลมนูนสีส้มเรียกว่า ไรโซมอร์ฟ (rhizomorph) เชื้อราจะเจริญปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก
                                 
      ลักษณะเส้นใยอ่อน                                           ลักษณะเส้นใยแก่                                                             
                ลักษณะเนื้อไม้ของราก ในระยะแรกเนื้อไม้จะแข็ง สีขาว ในระยะรุนแรงจะเป็นสีขาวครีม เนื้อไม้ฟ่าม เบา และยุ่ย  ลักษณะดอกเห็ด ในช่วงที่มีความชื้นสูงจะพบดอกเห็ดบริเวณโคนต้นและรากที่โผล่พ้นดินในต้นยางที่เป็นโรครุนแรง ลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลม ไม่มีขน ไม่มีก้านชูดอก(stalk)ดอกอ่อนจะลื่นเหมือนหนัง ดอกแก่แข็งกระด้าง สีของดอกด้านบนจะมีสีส้มแก่และสีส้มอ่อนสลับกันเป็นวง ขอบดอกสีขาว สีของดอกเป็นสีส้มอ่อนและมักขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ จำนวนดอกเห็ดและขนาดขึ้นกับความชื้นในบริเวณนั้นและอายุของดอก                       
                                            
   
 
 
 
 
 
 ลักษณะเนื้อไม้   (เนื้อไม้ฟ่าม)                         ลักษณะเนื้อไม้ของราก
 
     ลักษณะดอกเห็ด           
 
โรครากขาวในไม้ผล
                                       
 
2.              โรครากน้ำตาล   (Brown root disease)
                มักพบในสวนยางที่อายุมากในสวนยางที่มีต้นยางหักโค่น โดยทั่วไปความรุนแรงจะน้อยกว่าโรครากขาว ปัจจุบันเริ่มพบโรคในแปลงยางปลูกใหม่มากขึ้น
        เชื้อสาเหตุ
                     เชื้อรา    Phellinus  noxius (Corner) G.H. Cunningham(1965)
                                           [  Fomes  noxius Corner, 1932  ]
          ลักษณะอาการ
          ลักษณะโคนต้นและรากที่เป็นโรค บริเวณผิวรากและโคนต้นที่เป็นโรคจะมีลักษณะขรุขระ โดยเชื้อราจะเจริญปกคลุมผิวรากและเกาะยึดดินและทรายไว้  จะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาวค่อนข้างละเอียดในเปลือกไม้ และเส้นใยละเอียดสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่บริเวณผิวรากและดินที่ปกคลุมผิวราก
                ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเป็นสีขาวซีดมีสีน้ำตาลเป็นรอยประในเนื้อไม้ ผิวของเนื้อไม้ใต้เปลือกไม้และในเนื้อไม้จะมีเส้นสีน้ำตาลดำเป็นลายเส้นเดี่ยว และมีเส้นใยคล้ายเส้นด้ายแทรกอยู่ในเนื้อไม้ตามความยาว รากที่เป็นโรคมานานจะฟ่ามและแห้งมีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง มักมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวครีมค่อนเหลืองเจริญอยู่
                               
ลักษณะดอกเห็ด มักจะพบดอกเห็ดบนตอไม้ที่หักโค่นแล้วในช่วงที่มีความชื้นสูง ดอกเห็ดเป็นแผ่นหนา แข็ง และเปราะ ไม่มีก้านชูดอก ดอกอ่อนจะเห็นขอบขาวชัดเจน เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวดอกด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหากดูด้วยแว่นขยายจะเห็นผิวดอกเป็นขนสีน้ำตาลสั้นๆ(setae) ส่วนผิวดอกด้านล่างเป็นสีเทาเข้ม
          พืชอาศัยโรครากน้ำตาล           
     มีมากกว่า 153 ชนิด พืชปลูกที่สำคัญเช่น มะฮอกกานี สัก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ชา กาแฟ และโกโก้ นอกจากนี้เป็นพืชผลไม้ต่างๆ พืชจำพวก nut  และ พืชไม้ประดับต่างๆ
3.              โรครากแดง (Red root disease)
                มักพบในสวนยางที่มีตอและรากไม้ใหญ่ฝังลึกอยู่ในดิน เชื้อราเจริญค่อนข้างช้าจึงมักพบในต้นยางที่กรีดได้แล้ว
      เชื้อสาเหตุ
                 เชื้อรา Ganoderma pseudoferreum (Wakef) Over & Steinm,1925]
                                [G. philippii (bres.& Henn. Ex Sacc.) Bres.(1932)
         
ลักษณะอาการ
          ลักษณะโคนต้นและรากที่เป็นโรค บริเวณผิวรากและโคนต้นที่เป็นโรคจะมีลักษณะขรุขระ คล้ายโรครากน้ำตาล เส้นใยอ่อนของเชื้อราเป็นสีขาวครีมละเอียดมาก เส้นใยแก่เจริญจับกันบนผิวรากเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาวเห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างน้ำ
 
                ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลซีด ต่อมาเป็นสีขาวครีม ลักษณะเนื้อไม้คล้ายโรครากขาว แต่ต่างกันที่เนื้อไม้ของโรครากแดงจะแยกออกเป็นแผ่นตามวงปี
            ลักษณะดอกเห็ด มักจะพบดอกเห็ดที่โคนต้นยางที่ตายเนื่องจากโรคในช่วงที่มีความชื้นสูง อาจพบดอกเห็ดขึ้นที่ลำต้นสูงกว่า 150 ซม.  ลักษณะดอกเห็ดเป็นแผ่นหนา แข็ง ครึ่งวงกลม ดอกแก่ค่อนข้างใหญ่ ผิวดอกด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขอบดอกและผิวด้านล่างเป็นสีขาวครีม
 การเกิดโรค และการแพร่ลุกลามของโรครากยางพารา
1. จากแหล่งเชื้อนั่นคือรากไม้ และตอไม้ที่ถูกปล่อยทิ้ง หรือถูกฝังอยู่ในดิน เชื้อราโรครากสามารถมีชีวิตอยู่ในรากไม้ที่ถูกฝังอยู่ในดินได้นานกว่ารากไม้ที่ถูกทิ้งอยู่เหนือพื้นดิน จากการศึกษาพบว่าเชื้อราโรครากขาวสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในรากไม้ขนาดยาว 6 ซม. และเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.ได้ถึง 6 เดือน ในขณะที่รากไม้ที่อยู่เหนือพื้นดิน เชื้อรามีชีวิตอยู่ได้เพียง 5 สัปดาห์เท่านั้น
            เมื่อรากยางที่ปลูกใหม่เจริญไปสัมผัสกับแหล่งเชื้อที่มีชีวิต จะทำให้รากติดเชื้อและลุกลามเข้าสู่รากแก้ว ทำให้ต้นยางเป็นโรค ตาย และ เป็นแหล่งเชื้อแหล่งใหม่แพร่สู่ต้นข้างเคียงต่อไป 
                 
ตอยางที่ไม่ขุดออกทำให้เชื้อราที่มีอยู่แล้วแพร่กระจายและลุกลามติดต่อไปยังต้นยางที่ปลูกใหม่ได้
 
            2. จากสปอร์ของเชื้อราซึ่งมีปะปนอยู่ทั่วไปในอากาศ และดอกเห็ด แพร่โดยลม น้ำ  และแมลง สปอร์สามารถงอกและเข้าเจริญในเนื้อไม้ของตอไม้สดที่ถูกตัดโค่นและปล่อยทิ้งอยู่ในแปลง ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งเชื้อได้ต่อไป นอกจากนี้หากมีความชื้นที่เหมาะสมสปอร์ของเชื้อราสามารถเจริญเป็นเส้นใยเข้าทำลายรากยางและโคนยางได้ด้วย
            3. จากการสัมผัสของรากที่เป็นโรคกับรากของต้นยางข้างเคียง ซึ่งรากของต้นยางที่เป็นโรคจะกลายเป็นแหล่งเชื้อแพร่ขยายลุกลามต่อไปทั้งในระหว่างต้นและในระหว่างแถว
 
การควบคุมโรคราก
หลักการควบคุมและจัดการโรคราก
                 1. การทำให้แหล่งเชื้อโรคลดลงให้มากที่สุด
                 2. กำจัดและรักษาต้นเป็นโรค
                 3.  จำกัดบริเวณโรคไม่ให้แพร่ลุกลาม
1. การทำให้แหล่งเชื้อโรคลดลงให้มากที่สุด
    ช่วงเตรียมแปลงปลูก
            เพื่อลดแหล่งเชื้อและเชื้อสาเหตุของโรค
          - โค่น ขุดราก ไถพลิกเก็บเศษรากไม้ เผา ไถพลิกหน้าดิน ตากแดด      แม้จะเป็นรากไม้ เศษไม้ขนาดเล็ก หากฝังอยู่ในดิน เชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน
          - สารฆ่าตอ : สารกำจัดวัชพืชไตรโคลเพอร์(การ์ลอน 61%)      ผสมน้ำ หรือน้ำมันโซล่า ให้ส่วนผสม 10%      ป้องกันสปอร์ของเชื้อราโรครากเจริญ และทำให้ตอผุพังเร็วขึ้น
          -ในกรณีแปลงปลูกเดิมมีประวัติเป็นโรครากมาก่อน หลังโค่นในช่วง 1-2 ปีแรก ไม่ปลูกยางแต่ปลูกพืชอายุสั้นทดแทน    เพื่อให้ตอไม้รากไม้ผุพังหรือย่อยสลายเชื้อราก็จะถูกย่อยสลายไปด้วย
     ช่วงปลูก
  • เพื่อกำจัดเชื้อและป้องกันต้นยางปลูกใหม่ติดเชื้อ ปฏิบัติได้โดย
                - ผสมดินปลูกด้วยกำมันผง 100-200 กรัมต่อหลุม(50x50x50 ซม.)
              โดยผสมกับดินปลูก ทิ้งไว้ในหลุมก่อนปลูกยางประมาณ 0.5-1 เดือน หากปลูกพร้อมทันทีหลังผสมดินปลูกกำมะถันจะเป็นพิษกับรากยาง ทำให้ต้นยางปลูกใหม่ตายได้
          - แม่ปุ๋ยที่มีแนวโน้มมีศักยภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อบริเวณหลุมปลูกได้เช่นเดียวกับกำมะถัน คือยูเรีย(46-0-0) และ แอมโมเนียมซัลเฟต(21-0-0+24S)
            ผสมกับดินปลูกอัตรา 200 กรัมต่อหลุม(50x50x50 ซม.) โดยยูเรียให้ผสมกับดินปลูก ทิ้งไว้ในหลุมประมาณ 0.5-1 เดือน ก่อนปลูกต้นยาง
2. การกำจัด รักษา และควบคุม
            หากพบ ต้นยางใบเหลือง ต้นตาย ปฏิบัติโดย
            - ตรวจสอบสาเหตุ เส้นใยเชื้อรา ลักษณะราก ลักษณะการทำลาย ลักษณะดอกเห็ด
            - ต้นที่แสดงอาการรุนแรงแสดงอาการทางพุ่มใบเหลือง รากและโคนต้นถูกทำลายมากกว่า 60% ให้ตัดต้น กำจัดรากและตอ หรือใช้สารเคมีราดกำจัดเชื้อในต้น
            -ใช้สารเคมีรักษาต้นที่เป็นโรคไม่รุนแรงมาก และต้นที่อยู่ข้างเคียงเพื่อป้องกัน โดยตรวจสอบโคนต้น หรือราก หากยังไม่เข้าทำลายรากแก้ว ให้ตัดรากแขนงที่พบโรค และราดสารเคมีรักษา และ ราดสารเคมีในต้นยางถัดเข้าไปอีกอย่างน้อย 1-2 ต้น
1. โดยการใช้สารเคมี
การเตรียมต้นยางก่อนการใช้สารเคมี
         1.  เตรียมขุดดินรอบโคนต้นยาง ให้รากยางโผล่ขึ้นมา  และขุดให้เป็นบริเวณกว้างจากโคนต้น
ประมาณ 50ซม.
 
  
สารเคมีและอัตราที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคราก
ชื่อสามัญ
ตัวอย่างชื่อการค้า
%สารออกฤทธิ์
อัตราการใช้
วิธีการใช้
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
75%EC
10-20 ซีซีต่อน้ำ 2 ลิตร
 
ขุดร่องรอบโคนต้นยางกว้าง 15-20 ซม. รดหรือราดสารเคมีที่ผสมน้ำต้นละ 2-3 ลิตรขึ้นกับขนาดของโคนต้น ใช้สารเคมีอย่างน้อย 2 ครั้งระยะห่าง 6 เดือน
ไซโพรโคนาโซล
(cyproconazole)
อัลโต
10%SL
โพรพิโคนาโซล
(propiconazole)
ทิลท์
โพรพิโคนาโซล
25%EC
5-10 ซีซีต่อน้ำ 2 ลิตร
 
เฮกซาโคนาโซล
(hexaconazole)
เอนวิล
เฮกเซล
5%EC
10 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร
 
ตัวอย่างสารเคมี ชื่อทางการค้า
 
รูปภาพขั้นตอนการผสมสารเคมี
  1. ผสมสารเคมี  ในอัตราส่วนตามตารางข้างต้น
  2. ผสมสารเคมีกับน้ำสะอาด แล้วกวนนาน 5 นาที
 
        3.  จะได้น้ำสีขาวขุ่น
    
4.  ตวงสารเคมีใส่บัวรดน้ำ ปริมาณ 2 ลิตรต่อหนึ่งต้น
 
5. รดสารเคมีที่รอบโคนต้น ให้สารเคมีขังอยู่ที่โคนต้น และจะดูดซึมไปเอง
เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีประเภทดูดซึม
  
                    การราดสารเคมี                                                             หลังจากราดสารเคมี
6.   หลังจากราดสารเคมีแล้ว บริเวณรากที่ติดเชื้อ เชื้อราจะตาย  บริเวณที่ติดเชื้อเป็นสะเก็ด  และรากเล็ก ๆ งอกขึ้นใหม่
7.    หลังจากนั้น 4-6 เดือน ให้ราดซ้ำอีก ครั้งเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ
 ข้อความระวังในการใช้สารเคมี
  1. เป็นสารอันตราย ควรควรใส่ถุงมือ และร้องเท้าบูธ
  2. สารเคมีเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม ดังนั้น การจะต้องหลีกเลี่ยงฝน อย่างน้อย 3 ชม หลักรดสารเคมี
ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี  จากวันที่ทำการทดลอง
ไซโพรโคนาโซล  (cyproconazole) จำนวน 100 ซีซี  คิดเป็นเงิน  250.- บาท ผสมน้ำ 20 ลิตร  ราดต้นละ 2 ลิตร จะใช้ได้ 10 ต้น  ดังนั้น เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต้นละ 25.- บาท / ครั้ง
3.  จำกัดบริเวณโรคไม่ให้แพร่ลุกลาม
          - ต้นยางอายุน้อยกว่า 3 ปี หากเป็นโรครากรุนแรงคือพุ่มใบเหลืองและร่วง ควรขุดรากเผาทำลายให้หมดเพื่อยับยั้งและทำลายแหล่งเชื้อ        
         - ต้นยางที่อายุมากกว่า 3 ปี ควรขุดคูกั้นถัดจากต้นแสดงอาการทางใบไปทางหัวและท้ายในแถวเดียวกันข้างละ 2 ต้น และกึ่งกลางระหว่างแถวข้างเคียงกับแถวถัดไปทั้ง 2 ข้าง  เพื่อป้องกันการสัมผัสกันของราก และควรขุดลอกทุกปี
  
 
ค่าใช้จ่ายในการขุดคู
            ค่าจ้างรถแบ๊คโฮ ในขณะดำเนินการ ชั่วโมงละ 800.- บาท โดยลักษณะการขุดแต่ละแปลงที่เป็นโรคนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพการแพร่กระจายของโรค ระยะเวลาในการขุดคู แต่ละแปลงจึงไม่เท่ากัน
4. การป้องกันเชื้อราโดยวิธี “ชีววิธี”
     วัสดุที่ใช้ 
  1. สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3            จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)  
  2. ปุ๋ยหมัก                               จำนวน  100 กก.               
  3. รำละเอียด                           จำนวน      1 กก.
 
ภาพแสดงขั้นตอนการทำ
1.   ภาพจริงส่วนผสม
  
  
 
2.              เทปุ๋ยหมัก ตามอัตราข้างต้น
                       
 
 3.      ละลาย พด.3ซอง ในน้ำสะอาด และผสมรำละเอียด 1 กก.คนให้เข้ากัน 5 นาที เพื่อให้เชื้อใน พด. ตื่นตัว
                            
 4.       รดน้ำพด. ที่ผสมแล้วในกองปุ๋ยหมัก กวนผสมกัน ให้มีความชื้นพอปั้นปุ๋ยหมักเป็นก้อนได้
 
                
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. คลุมไม่ให้ความชื้นระเหย  หลังจากนี้ 7วัน ให้เปิดดู จะมีเชื้อราสีขาวขึ้น
 
6. นำเชื้อที่ได้ไปใส่ที่โค่นต้นยาง ต้นละ 3-5 กก.
 ค่าใช้จ่ายวิธี “ชีววิธี”   ณ วันที่ดำเนินการ
ค่าปุ๋ยหมัก  กิโลกรัมละ 3.- บาท  จำนวน 100 กก.                    เป็นเงิน   300.- บาท
รำละเอียด  กิโลกรัมละ   7.- บาท จำนวน    1 กก.                    เป็นเงิน      7.- บาท
สาร พด.3 (จาก สนง.พัฒนาที่ดิน )                                                              -
รวม                                                                                       307.- บาท
หลักจากหมักไว้ 7 วัน เกิดเชื้อ  ส่วนผสมที่ได้ประมาณ  100 กก.  นำปโรยที่โคนต้นยาง ต้นละ 3 กก. ได้ประมาณ 33 ต้น
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่อต้น เป็นเงิน  9.30 บาท
 
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2011 เวลา 11:36 น.
 
วันนี้1244
Yesterday2154
Week6698
เดือน34135
All958496

Powered by Kubik-Rubik.de
ข้อความต้นฉบับ
ร่วมให้คำแปลที่ดีกว่า


เข้าชม : 77

บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      เทศกาลกินเจ ปี2557 มี 2 รอบ 22 / ก.ย. / 2557
      วันไหว้พระจันทร์ 8 / ก.ย. / 2557
      ประวัติวันสงกรานต์ 13 / เม.ย. / 2557
      วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day 7 / ก.พ. / 2557
      วันมาฆบูชา 7 / ก.พ. / 2557


 

กศน. ตำบลคลองพลู

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองใหญ่

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   chonnfe   Version 2.03