[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
คู่มือนักศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 

 

 

แนวคิด 
        กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักการ
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
        2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
        3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมาย
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
        4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ระดับการศึกษา
        ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ 
        - ระดับประถมศึกษา 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

สาระการเรียนรู้
        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
        มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
        มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
        มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
        มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง

4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
        มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
        มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
        มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
        มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
        มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 

 

รูปแบบการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

        สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดบริการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายให้กับประชาชน 3 รูปแบบ ดังนี้
       1. แบบพบกลุ่ม
       2. แบบทางไกล
       3. แบบเทียบระดับการศึกษา



แบบพบกลุ่ม

       เป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนที่ต้องการเพิ่มความรู้ให้กับตนเองและมีเวลามาพบกลุ่ม ทุกสัปดาห์ ๆ ละไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในวันและเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและผู้เรียนตกลงกัน ใช้เวลาภาคเรียนละไม่น้อยกว่า 20 สัปดาห์ โดยรวมกับเวลาสอบ การจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีคะแนนเก็บกลางภาค และทดสอบปลายภาค แล้วนำผลคะแนนมารวมกันเพื่อตัดสินผลการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้มีเวลามาพบกลุ่มทุกสัปดาห์ และเปิดบริการทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย


แบบทางไกล

       การศึกษารูปแบบทางไกล ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนแล้วให้ศึกษาด้วยตนเองจากชุดการเรียนทางไกล ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ และเข้าสอบปลายภาค ณ สถานที่ที่สถานศึกษากำหนด การจัดการศึกษาแบบทางไกล ผู้เรียนจะไม่มีคะแนนเก็บกลางภาคใช้คะแนนสอบปลายภาคเป็นการตัดสินผลการเรียน นอกจากนี้ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ไม่มีเวลามาเรียน ทุกสัปดาห์ รับผู้เรียนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เท่านั้น


แบบเทียบระดับการศึกษา

       การศึกษาแบบนี้เป็นการประมวลประสบการณ์และความรู้ที่เป็นองค์รวมของ บุคคลตามคุณลักษณะ ที่สำคัญในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เพื่อรับรองความรู้ ความสามารถของผู้เข้ารับการประเมินให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เท่ากับระดับการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้ารับการประเมินต้องลงทะเบียนเข้ารับการประเมินและเสียค่าลงทะเบียน จากนั้นจัดทำแฟ้มผลงานตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ และเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน โดยมีการสอบข้อเขียน ปฏิบัติ และสัมภาษณ์ ตามวิธีการที่สถานศึกษากำหนด รูปแบบนี้ เหมาะสมกับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงาน ไม่ต้องมาเรียนแต่ต้องเตรียมองค์ความรู้ของตนเพื่อเข้ารับการประเมิน เปิดบริการประเมิน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

สาระการจัดการศึกษานอกโรงเรียน แบบพบกลุ่ม

       การจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ได้ยึดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  โดยมีการปรับสาระการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบ ดังนี้
       1.  สาระการเรียนรู้ที่ต้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา สาระการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน มี 8 หมวดวิชา ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ และหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 (พลานามัย) หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรีและนาฏศิลป์) และหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ซึ่งผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนให้ครบทั้งกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์
       2.  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมวลประสบการณ์และทักษะ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตร ไปพัฒนาความรู้ความสามารถของตนตามศักยภาพเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่จัดให้เรียน รู้ในหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการ คิดเป็น ในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และกระบวนการกลุ่มอันจะส่งผลให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียน หรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม มานับรวมเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ทั้งนี้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
              2.1   กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสิ่งแวดล้อมของครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ร่วมในสังคมและชุมชน ได้อย่างมีความสุข
              2.2   กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนตลอดหลักสูตร

       ในแต่ละระดับการศึกษา ได้กำหนดค่าสาระการเรียนรู้ในแต่ละหมวดวิชาเป็นหน่วยกิต โดยกำหนดให้ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำแนกได้ดังนี้

ระดับประถมศึกษา 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ประกอบด้วยกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 5 หน่วยกิต รวม 20 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 7 หน่วยกิต รวม 28 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 6 หน่วยกิต รวม 24 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 8 หน่วยกิต รวม 32 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 7 หน่วยกิต รวม 28 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


เวลาเรียน

       การจัดการศึกษา โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน ประมาณภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นในกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน สามารถจบหลักสูตร ก่อน 4 ภาคเรียนได้


การลงทะเบียนเรียน

       การลงทะเบียนเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา ภาคเรียนละไม่เกิน 2 หมวดวิชา ในหลักสูตร นี้ไม่มีการเปิดเรียนภาคฤดูร้อน เนื่องจากเวลาเพียง 1 เดือน ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามหลักสูตรกำหนด


โครงสร้างหลักสูตร

       การจัดโครงสร้างหลักสูตร ตามเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในแต่ละระดับการศึกษาประกอบด้วยกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีแผนภูมิโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

         

 

โครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับประถมศึกษา
     

 

   
         

 

โครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
   

 

 
         

 

 หลักสูตรตามโครงสร้างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 

 

 
       

 

 

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้คอมพิวเตอร

       1. ผู้เรียนทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาพัฒนาอาชีพและเทคโนโลยี ต้องผ่านการฝึกปฏิบัติคอมพิวเตอร์ และผู้เรียนทุกระดับต้องมีความรู้ความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงานและ ค้นคว้าข้อมูล ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
       2. ผู้เรียนที่เรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถสะสมโปรแกรมที่เรียนได้โดยไม่ต้องเรียนซ้ำในโปรแกรมที่เรียนไปแล้ว หรือมีความรู้แล้วจากระดับ การเรียนที่ต่ำกว่า
       3. วิธีการลงทะเบียนเรียน สามารถแบ่งเรียนเป็นแต่ละโปรแกรมได้ แล้วนำมาสะสมเพื่อให้ครบตามโครงสร้างหลักสูตรสาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
       4. ผู้เรียนคนใดลงทะเบียนเรียนในโปรแกรมใดแล้ว ไม่สามารถมาเรียนได้ครบตามระยะเวลา ที่ลงทะเบียนเรียนไว้ สามารถที่จะมาเรียนให้ครบตามโครงสร้างหลักสูตรได้ในภายหลัง แต่ต้องเป็นช่วงเวลา ที่ไม่กระทบการจัดการสอนของรุ่นอื่น เช่น การเรียนช่วงเช้า – บ่าย ในวันจันทร์ – ศุกร์ หรือในรุ่นที่กำหนดไว้ แต่มีผู้ลงทะเบียนเรียนไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แต่ละรุ่น
       5. เมื่อเรียนครบตามโครงสร้างหลักสูตร และผ่านการประเมินแล้ว หากผู้เรียนต้องการเรียนซ้ำ ในโปรแกรมเดิม หรือต้องการฝึกใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความชำนาญ สามารถกระทำได้และเสียค่าใช้จ่ายตามจำนวนชั่วโมงหรือโปรแกรมที่ต้องการ
       6. สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนในแต่ละรุ่น ครั้งละ 2 ชั่วโมง หรือ 3 ชั่วโมง ได้ตามความเหมาะสม
       7. ให้สถานศึกษาออกวุฒิบัตรให้กับผู้เรียน เมื่อจบแต่ละโปรแกรมหรือรวมทุกโปรแกรม เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบการเทียบโอนหรือให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ

 

สาระการเรียนรู้หมวดวิชา
หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนประกอบด้วย 8 หมวดวิชา คือ กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน
หมวดวิชา ภาษาไทย
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาไทย ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม


หมวดวิชา คณิตศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์


หมวดวิชา วิทยาศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมวดวิชา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
กลุ่มหมวดวิชา ประสบการณ์


หมวดวิชา พัฒนาทักษะ 1 (สุขศึกษาและพลานามัย)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะ 1 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต


หมวดวิชา พัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรี นาฏศิลป์)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
สาระที่ 2 ดนตรี
สาระที่ 3 นาฏศิลป์


หมวดวิชา พัฒนาสังคมและชุมชน
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์


หมวดวิชา พัฒนาอาชีพ
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

 

การจัดกระบวนการเรียนรู้
      การจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดหนึ่งภาคเรียนนั้น มีกิจกรรมการเรียนรู้อยู่  4 กิจกรรม  ที่ครูจะต้องดำเนินการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวจะเกิดผลดีกับผู้เรียนได้นั้น ครูต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ฝึกนิสัยให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในแต่ละสัปดาห์ครูจะต้องกำหนดให้ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาศึกษาเรียนรู้เพื่อ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
      1. การพบกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
      2. การทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่มอบหมาย อย่างน้อย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์
      3. การทำโครงงาน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวมเวลาที่ใช้ในการพบกลุ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย และการทำโครงงานอย่างน้อย 21 ชั่วโมง/สัปดาห์
      4. การสอนเสริม โดยครูหรือวิทยากรตามที่วางแผนไว้
      5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จำนวน 100 ชั่วโมง

 

1. การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม
       ในทุกสัปดาห์ครูจะต้องจัดให้มีการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันโดยมีครู เป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้นเสริมแรง ให้คำปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะโดยใช้เวลาในการพบกลุ่มไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรม คือ
       1.1 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดการเรียนรู้เช่นนี้ ให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งครูได้มอบหมายให้แต่ละคน ไปศึกษาค้นคว้าไว้ล่วงหน้าแล้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนต่างก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้ แก่กันและกัน
       1.2 การนำเสนอโครงงาน ผู้เรียนจะนำเสนอความคิด และความก้าวหน้าในการทำโครงงานต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถาม ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการต่อยอดทางความคิดและนำไปสู่การพัฒนาโครงงานในสัปดาห์ต่อไป การนำเสนอโครงงานเช่นนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
       1.3 การสอบย่อย (Quiz) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา โดยครูและสถานศึกษา (กศน.อำเภอ/กศน.เขต) เป็นผู้จัดทำข้อทดสอบย่อย ในลักษณะ ถาม-ตอบ (Quiz) ให้ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นข้อเขียนสั้น ๆ ซึ่งสรุปความคิดรวบยอด ที่เป็นความรู้ความเข้าใจของตัวผู้เรียนเอง
       1.4 จัดการเรียนการสอนตามสาระที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้ว โดยครูเป็นผู้สอนเพิ่มเติมความรู้หรือเนื้อหาสาระที่จำเป็นซึ่งนักศึกษายังไม่เข้าใจและต้องการจะเรียนรู้
       1.5 ฝึกกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากกลุ่ม จากสื่อ โดยครูเป็นผู้กระตุ้นและเสริมแรงให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาการพบกลุ่ม การแสดงออกของผู้เรียนที่มีหลายรูปแบบ เช่น การฟังอย่างตั้งใจในสิ่งที่มีผู้นำเสนอ ช่วยคิดตั้งคำถามให้คิด ร่วมอภิปราย ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
       1.6 วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน นัดหมายกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ เน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่จะนำเสนอสัปดาห์ต่อไป และกำหนดภารกิจสำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ ด้วย

 
 

 

 

2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง
       เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียนที่ถือว่าเป็นผู้ที่มี วุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบ มีประสบการณ์และมีข้อจำกัดในการทำงานและการประกอบอาชีพ ดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องจึงใช้หลักการเรียนด้วยตนเอง โดยผู้เรียนศึกษาค้นคว้า หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง ในหัวข้อที่ไม่ยากเกินไปในลักษณะกลุ่ม หรือรายบุคคลและอยู่ในวิสัยที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ มีการจดบันทึกหรือเรียบเรียงความรู้นั้นไว้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานหรือร่องรอยของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจดบันทึกลงสมุดหรือทำเป็นแฟ้มสะสมงานในแต่ละหมวดวิชาของผู้เรียน แต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย โดยผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง จดบันทึก และนำเสนอในการพบกลุ่ม เน้นเติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน ผู้เรียนจะใช้เวลาสัปดาห์ละประมาณ 15 – 20 ชั่วโมง เพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

       2.1  กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง มีจุดประสงค์สำคัญดังนี้
              2.1.1   ฝึกให้ผู้เรียนรับผิดชอบและรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง
              2.1.2   ฝึกให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่รู้และรู้จักวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายความต้องการของตนเอง ในการแสวงหาความรู้
              2.1.3   ฝึกผู้เรียนให้จดบันทึก เรียบเรียงและสรุปความรู้ที่ตนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
              2.1.4   ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนด้วยวิธีนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก และผู้เรียนจะใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียนด้วยวิธีนี้ ครูจึงมีความจำเป็นต้องใส่ใจเพิ่มขึ้นในเรื่องต่อไปนี้

              1.  การแนะนำ/ประสานงาน/จัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยเมื่อวางแผนการเรียนรู้กำหนดประเด็นให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองแล้ว ครูจะต้องเป็นผู้แนะนำ หรือประสานงาน หรือช่วยเหลือในการจัดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า ซึ่งสื่อและแหล่งเรียนรู้นั้นมีหลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ (แบบเรียน หนังสือ เอกสารของหน่วยงานต่าง ๆ ) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (รายการวิทยุ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ วีดีทัศน์) สื่อคอมพิวเตอร์ (ซีดีรอม รวมทั้งอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่รวมความรู้และข้อมูลมากมาย) นอกจากนี้ยังมีแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน (แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่ ผู้รู้ ภูมิปัญญา เจ้าหน้าที่ หน่วยงานต่าง ๆ และแหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่ ได้แก่ ศูนย์การเรียนชุมชน ห้องสมุดประชาชน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกศาสตร์ อุทยาน ไร่นา ป่าเขา ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ) สื่อและแหล่งเรียนรู้เหล่านี้ ครู กศน. จะต้องรอบรู้และนำมาใช้เพื่อจัด การเรียนการสอนอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างได้ ผลดี

              2.  การจดบันทึก เรียบเรียงผลการเรียนด้วยตนเอง โดยครูต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนจดบันทึกหรือเขียนด้วยลายมือตนเองในเรื่องที่ ไปศึกษาค้นคว้า ให้ผู้เรียนจดไว้อย่างเรียบร้อยเป็นระบบด้วยตนเองเพื่อความสะดวก ในการนำเสนอในกลุ่ม โดยผู้เรียนอาจจดลงสมุดหรือจัดทำเป็นแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ของแต่ละหมวดวิชาที่ลงทะเบียน สมุดที่จดบันทึก ผลการเรียนหรือแฟ้มสะสมงานนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนด้วย

              3.  การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า/ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายต่อกลุ่ม ส่วนนี้มีสิ่งที่ครูต้องให้ความสำคัญ 3 เรื่อง คือ
                   3.1   ผู้ที่นำเสนอ ครูต้องเน้นย้ำให้ผู้นำเสนอเตรียมตัวอย่างดี โดยเรียบเรียงความคิด เตรียมขั้นตอนการนำเสนอและนำเสนออย่างชัดเจน ครูต้องกระตุ้นให้มีการอภิปราย ซักถาม และให้ผู้นำเสนอตอบข้อสงสัยของเพื่อน ๆ ได้ หรือให้ผู้เรียนคนอื่นช่วยตอบ
                   3.2   ผู้เรียนที่รับฟัง ต้องตั้งใจฟัง จดบันทึก และร่วมอภิปราย ซักถาม เพื่อให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างชัดเจน
                   3.3   ครูจะต้องดูแลให้การนำเสนอเป็นไปอย่างได้ผล โดยฟังการนำเสนออย่างตั้งใจ กระตุ้นเสริมแรง ดูแลผู้เรียนคนอื่น ๆ ให้สนใจในการนำเสนอ ให้ทุกคนได้มีโอกาสซักถามเพิ่มเติมความเห็นอย่างทั่วถึง ทำให้ช่วงเวลาการนำเสนอเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาและมีคุณค่า พฤติกรรมต่าง ๆ ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไขและทำให้ เกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ

3. การจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน
       “โครงงาน” (Project) คือ แผนงาน  หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนร่วมกันกำหนดขึ้นตามความสนใจ ความต้องการ และนำไปสู่การค้นคว้าทดลอง และลงมือปฏิบัติจริงในแต่ละภาคเรียน ผลจากการทำโครงงานคือ ผลผลิตที่เป็นองค์ความรู้ตามหมวดวิชานั้น หรือผลงานที่เป็นประโยชน์โดยมีการบูรณาการสาระอื่น ๆ ที่จำเป็นและสอดคล้องกัน
       การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการทำโครงงานนั้น เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ให้การยอมรับผู้เรียนในลักษณะของผู้ที่มีวุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบ โดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนจะมีแรงจูงใจและเรียนได้ดีเมื่อได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ ก่อให้เกิดประโยชน์และนำไปใช้ได้ทันที การเรียนรู้โดยการทำโครงงานส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่ม กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และทำในสิ่งที่สนใจเรียนจากการปฏิบัติจริง โดยสอดแทรกบูรณาการสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและศึกษาหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำโครงงานใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเพื่อต่อยอดทางความคิด และนำไปสู่การปฏิบัติโครงงานจนสิ้นภาคเรียน กระบวนการทำโครงงานจึงเป็นลักษณะของการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ “คิด ทำ จำ แก้ปัญหา และพัฒนา”
       การเรียนโดย “โครงงาน” เป็นการเรียนโดยใช้ความรู้ในหมวดวิชาหรือบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และกระตุ้นเสริมแรงให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
     3.1  ประโยชน์ของการเรียนรู้จากการทำโครงงาน
            3.1.1   ผู้เรียนมีอิสระในการคิดริเริ่มโครงงานที่ตรงกับความต้องการ ความสนใจของตนเองเป็นการเรียนอย่างมีความหมาย เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์ของผู้เรียน
            3.1.2   ผู้เรียนใช้ทักษะการเรียนที่สูงขึ้น และหลากหลาย มีการคิดริเริ่มการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ การสังเกต การบันทึกผลการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ และสร้างข้อสรุป
            3.1.3   สร้างกัลยาณมิตรในกลุ่มผู้เรียน โดยฝึกการนำเสนอ รับฟังและให้ข้อเสนอแนะ
            3.1.4   เรื่องที่เรียนเป็นของจริง เป็นการเรียนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
            3.1.5   ผู้เรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเป็นเจ้าของโครงงานเรียนรู้นั้น
     3.2  ขั้นตอนและกระบวนการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน
การเรียนรู้ในลักษณะของ “โครงงาน” มีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : การคิดริเริ่มโครงงาน ผู้เรียนทุกคนต้องเป็นผู้คิดริเริ่มโครงงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง มีความสนใจและต้องการที่จะทำโดยให้ศึกษาวิเคราะห์ หมวดวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ผู้เรียนอาจจะต้องถามตัวเองด้วยคำถามต่าง ๆ เช่น
       1.1  ตนเองมีความสนใจและต้องการทำโครงงานอะไร อาจเป็นโครงงานในหมวดวิชานั้น หรือโครงงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ งานพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โครงงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิต และอื่น ๆ
       1.2  โครงงานนั้นมีประโยชน์อย่างไร อาจจะเป็นโครงงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองทางด้านความรู้ พัฒนาอาชีพ การมีอาชีพรายได้ หรือโครงงานที่จะเกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมหรือช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อม
       1.3  โครงงานนั้นต้องใช้ความรู้ในเรื่องใดบ้าง โดยพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับหมวดวิชาที่ลงทะเบียนเรื่องใด คาดว่าเกี่ยวข้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ใดบ้าง และต้องศึกษาหาความรู้อะไรอื่น ๆ อีก จากแหล่งความรู้ที่ได้จากผู้รู้ ผู้ชำนาญการ หรือภูมิปัญญาใด
       1.4  เราต้องการทำโครงงานนั้นกับใครบ้าง เราอาจมีข้อจำกัดเช่น เรื่องของเวลา หรือความสนใจ จึงทำโครงงานเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กับเพื่อนที่สนใจเหมือนกัน หรือทำงานกลุ่มที่มีจำนวนคนมากขึ้น
       1.5  โครงงานนี้ริเริ่มขึ้นมาใหม่ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่มีอยู่ในชุมชน หากเป็นโครงงานใหม่ ในหมวดวิชานั้น ๆ ผู้เรียนต้องศึกษาสาระของหมวดวิชาโดยรวม แล้วพิจารณาว่าสนใจจะทำเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วศึกษาลงลึกเรื่องนั้น นอกจากนี้ผู้เรียนยังอาจเข้าร่วมกิจกรรมที่มีในชุมชนที่ตนสนใจ เช่น กิจกรรมทางด้านอาชีพ การพัฒนาชุมชน และสังคม โดยนำสาระในหมวดวิชาที่เกี่ยวข้องไปใช้เสริม หรือบูรณาการเข้าด้วยกันในโครงงาน

ขั้นตอนที่ 2 : ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ/พัฒนาโครงงาน
       2.1  การลงมือทำโครงงาน ผู้เรียนในกลุ่มทุกคนต้องร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำโครงงานตามที่ได้วางแผนไว้ การลงมือปฏิบัติครอบคลุมการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำโครงงาน เช่น ศึกษาเรื่องการปลูกสับปะรด ผู้เรียนก็อ่านหนังสือหรือสอบถามผู้รู้และลงมือปลูกจริงหรือการเข้าร่วม “โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” การศึกษาหาความรู้และเข้าร่วมทำงานในโครงงานนี้จริง หรือโครงงานที่ลงลึกในสาระการเรียนรู้ตามหมวดวิชา โดยมีการบันทึกผลการทำงานทุกขั้นตอน
       2.2  การนำเสนอโครงงานในกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องใช้การสังเกต บันทึกผลการเรียนจากการทำโครงงาน และนำเสนอผลการปฏิบัติโครงงานกับกลุ่มผู้เรียนในทุกสัปดาห์ตลอดภาคเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียนและครู การเสนอโครงงานในช่วงแรกเป็นการเสนอความคิดในการทำโครงงานในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป เป็นการนำเสนอผลการปฏิบัติเพื่อให้คนอื่นช่วยมอง ช่วยให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม อาจเป็นการเสนอความก้าวหน้า พร้อมความพึงพอใจหรือปัญหาอุปสรรคเป็นการนำปัญหาที่พบจากการปฏิบัติ มาเล่าสู่กันฟัง พร้อมความคิดเห็นหรือแผนที่จะทำโครงงานต่อไป การเสนอเช่นนี้จะช่วยให้เกิดการสำรวจความคิด เกิดการต่อยอดทางความคิดของกันและกัน ช่วยให้เกิดความคิดใหม่หรือแสวงหาทางเลือกใหม่ ที่จะทำต่อไปเป็นการฝึกการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนอื่น
       ในการนำเสนอ ผู้เรียนจะต้องเตรียมตัวอย่างดี นำเสนออย่างชัดเจนถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติโครงงานของตน การนำเสนออาจใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อช่วยให้น่าสนใจและมีความชัดเจน ผู้เรียนอาจนำเสนอ เป็นสื่อของจริง ภาพถ่าย ภาพวาด อาจเสนอโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้เรียนจะสามารถทำได้
       ประการสำคัญผู้เรียนจะต้องบันทึกกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นการจดบันทึกหรือใช้เทคโนโลยี ควรบันทึกการเรียนรู้ การทำโครงงานอย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ 3 : การสรุปผลการทำโครงงาน เนื่องจากการทำโครงงานเป็นกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติที่ผู้เรียนทำอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจำเป็นต้องสรุปผลการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาผลการเรียนรู้ของตนเอง และอาจนำไปเผยแพร่ต่อไป เช่น จัดนิทรรศการ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่

4. การสอนเสริม
       การสอนเสริม มีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้มากขึ้น เนื่องจากมีสาระการเรียนรู้ที่ยากและซับซ้อนและระยะเวลาเรียนที่ค่อนข้าง จำกัด ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องสอนเสริมในบางหมวดวิชาและบางสาระการเรียนรู้ที่มีความ ยาก และซับซ้อน เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ โดยทั้งผู้เรียนและครูร่วมกันวางแผน การสอนเสริม โดยเชิญวิทยากรซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้รู้ ผู้ชำนาญในเนื้อหานั้น เช่น ครู อาจารย์ ที่เกษียณอายุแล้ว เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้สอนเสริมหรือใช้สื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอน การสอนเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่ยากได้ดีขึ้น ช่วงเวลาและสถานที่ในการสอนเสริมเป็นไปตามแผนที่ร่วมกันกำหนดไว้ใช้เวลาที่ เหมาะสม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นอกเหนือจากเวลาพบกลุ่มในข้อ 1

       4.1  วัตถุประสงค์ของการสอนเสริม
              4.1.1   เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียนให้สูงขึ้น
              4.1.2   เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ ของหมวดวิชาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและไม่อาจศึกษาได้ด้วยตนเอง ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ
              4.1.3   เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขาวิชา
              4.1.4   เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมของประชาชน ในการเข้ามาเป็นวิทยากรสอนเสริมในรูปแบบอาสาสมัคร

       4.2  วิธีการดำเนินการสอนเสริม ควรทำดังนี้
              4.2.1   ครูและผู้เรียนวางแผนและปรึกษาหารืออันเกี่ยวกับรายละเอียดของหมวดวิชา และสาระการเรียนรู้ที่จะจัดสอนเสริม
              4.2.2   ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดวัน เวลา สถานที่ หมวดวิชา และสาระการเรียนรู้ และจัดทำแผน หรือปฏิทินการสอนเสริม
              4.2.3   ประสานเชิญวิทยากรหรืออาสาสมัคร หรือจัดหาวีดีทัศน์การสอนเสริมในสาขาวิชาเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่จะสอนเสริม
              4.2.4   จัดเตรียมสื่อหรืออุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่วิทยากร หรืออาสาสมัครในการสอนเสริม
              4.2.5   วิทยากรสอนเสริมตามวันเวลาที่กำหนด
              4.2.6   ผู้เรียนเข้ารับการสอนเสริม และบันทึกร่องรอยการเรียนรู้ในสมุดบันทึก
              4.2.7   ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมหรือทำแบบฝึกหัดตามที่วิทยากรกำหนด
       การสอนเสริม เป็นการรวมกลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาในสาระการเรียนรู้ที่ยุ่งยากซับซ้อนในแต่ละหมวดวิชา โดยสามารถเชิญวิทยากร สื่อวีดีทัศน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ มาเติมเต็มความรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งสามารถทำได้ในกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียน

 

5. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
        กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในโครงสร้าง ที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมดังกล่าวสะสมได้ทุกภาคเรียนหรือภาคเรียนเดียว ในกรณีที่ผู้เรียนมีการเทียบโอนผลการเรียนและใช้เวลาเรียน เพียงภาคเรียนเดียว รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
        5.1  วัตถุประสงค์
                5.1.1  เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่ม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์โดยฝึกทักษะความมีเหตุผล การคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น
                5.1.2  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ชุมชน สังคม อย่างแน่นแฟ้น รวมทั้ง มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
                5.1.3  เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้ผู้เรียน ผู้เรียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
        5.2  การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
                5.2.1  ครูจัดประชุมชี้แจงผู้เรียนให้เข้าใจกระบวนการจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
                5.2.2  ครูร่วมกับผู้เรียนจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วน และในภาคปฏิบัติสามารถดำเนินการภายใต้ขอบข่ายเนื้อหา ดังนี้
                        1)  กิจกรรมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีโดยพิจารณากิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนยึดมั่นใน ศาสนาและปลูกฝังค่านิยมที่ดี เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ที่ดีงามของท้องถิ่นและของชาติ
                        2)  กิจกรรมการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาเลือกทำกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนา การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืน
                        3)  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับการสนับสนุนงานการศึกษานอกโรงเรียน โดยพิจารณาเลือกทำกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญ เกิดความรัก ความผูกพัน และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา นอกโรงเรียน ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการสนับสนุน แต่ต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสนับสนุนงานการศึกษานอกโรงเรียนโดยแท้จริง
                5.2.3  ผู้เรียนรวมกลุ่มเขียนโครงการและเสนอขออนุมัติต่อสถานศึกษา ทั้งนี้โดยมีครูผู้รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาโครงการ
                5.2.4  ครูต้องเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการวางแผนการประสานงาน การแก้ไขปัญหา ในการปฏิบัติการจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคการปฏิบัติของผู้เรียน
                5.2.5  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา และประเมินผลการปฏิบัติการโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ครูต้องทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาและกำหนดจำนวนชั่วโมง ของแต่ละกิจกรรม ก่อนขออนุมัติโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
                5.2.6  นิเทศติดตามการปฏิบัติงานในโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อโครงการ ของผู้เรียนได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้เรียนจะดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าว ครูต้องนิเทศตามโครงการนั้น ๆ
                5.2.7  ดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ครูต้องทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้งและดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการนั้น ๆ ตามจำนวนชั่วโมงและความยากง่ายของโครงการ
        การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจะต้องเป็นไปตามหลักการ วัตถุประสงค์ และเกณฑ์การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมทั้งให้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อ บุคคล ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
        อย่างไรก็ตาม ครูผู้รับผิดชอบผู้เรียนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาราย ละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักการและเหตุผล ประเภท ปรัชญา ความเชื่อพื้นฐาน วัตถุประสงค์และเกณฑ์การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ในเอกสาร “เกณฑ์การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอก โรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544”
        การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว และพัฒนาชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจากขอบข่ายเนื้อหาดังต่อไปนี้
        1.  กิจกรรมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี โดยพิจารณากิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนยึดมั่นในศาสนา และปลูกฝังค่านิยมที่ดีเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและของชาติ เช่น
                -  กิจกรรมส่งเสริมการประกอบอาชีพในวันสำคัญทางศาสนา
                -  กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนา
                -  กิจกรรมส่งเสริมวันสำคัญของชาติ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก วันครอบครัว วันผู้สูงอายุ วันรัฐธรรมนูญ วันสตรีสากล ฯลฯ
                -  กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีการแต่งกายประจำท้องถิ่น และประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่น ตลอดจนการละเล่น พื้นเมืองต่าง ๆ
                -  ฯลฯ
        2.  กิจกรรมการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณา เลือกทำกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนา การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืน เช่น
                -  กิจกรรมขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำในหมู่บ้าน
                -  กิจกรรมกำจัดขยะมูลฝอยในที่สาธารณะ
                -  กิจกรรมรักษาความสะอาด ถนน ทางเดินในหมู่บ้าน
                -  กิจกรรมปลูกต้นไม้ ดูแลรักษาสาธารณสมบัติ
                -  กิจกรรมสร้างทางเท้า ทางเดินหมู่บ้าน
                -  กิจกรรมสร้างศาลาอเนกประสงค์
                -  กิจกรรมสร้างส้วมสาธารณะ
                -  กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครป้องกันยาเสพติด
                -  กิจกรรมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
                -  กิจกรรมเวทีชาวบ้าน
                -  กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
                -  กิจกรรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
                -  ฯลฯ
         3.  กิจกรรมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
              กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับการสนับสนุนงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยพิจารณาเลือกทำกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญ เกิดความรัก เกิดความผูกพัน และเป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษานอกระบบ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการสนับสนุน แต่ต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยแท้จริง เช่น
                -  กิจกรรมรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ
                -  กิจกรรมประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                -  กิจกรรมวันการศึกษานอกโรงเรียน
                -  กิจกรรมวันที่ระลึกการรู้หนังสือ
                -  กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์บริการสื่อห้องสมุดประชาชน แหล่งความรู้หมู่บ้าน หอกระจายข่าว ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
                -  กิจกรรมสนับสนุนและพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนาอาชีพ
                -  กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนงานตามนโยบายรัฐบาลที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขอความร่วมมือ
                -  ฯลฯ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
        1.  ผู้เรียนที่ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
        2.  แนบโครงการที่เขียนแล้ว พร้อมแบบคำร้อง แสดงความจำนง ขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขออนุมัติโครงการต่อสถานศึกษา
โครงการประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
                2.1  ชื่อโครงการ
                2.2  หลักการและเหตุผล
                        - บอกเหตุผลและความจำเป็นหรือความสำคัญของโครงการ
                2.3  วัตถุประสงค์
                        - ระบุว่าโครงการนี้ทำเพื่ออะไร เกิดประโยชน์อย่างไร
                2.4  ขั้นตอนการดำเนินงาน
                        -  บอกวิธีการทำงานว่าขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มทำโครงการจนสิ้นสุดโครงการ
                2.5  สถานที่ดำเนินงาน
                        -  ระบุสถานที่ที่จะดำเนินการ
                2.6  ระยะเวลา
                        -  ระบุว่า โครงการที่จะปฏิบัตินั้นเริ่มและสิ้นสุดวันใด
                2.7  งบประมาณ
                        -  ตั้งงบประมาณหรือองค์ประกอบที่จะทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเช่นวัสดุ แรงงาน
                2.8  ผู้รับผิดชอบโครงการ
                        -  ระบุผู้รับผิดชอบโครงการว่ามีใครบ้าง กี่คน
                2.9  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                        -  ระบุว่าจากการทำโครงการนั้น คาดว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
        3.  เมื่อสถานศึกษาอนุมัติโครงการแล้ว ให้ผู้เรียนนำโครงการดังกล่าวมาดำเนินงานโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครู และคณะกรรมการ
        4.  เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้จัดทำรายงานการดำเนินงานต่อสถานศึกษา เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติงาน


 

แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
        การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ดำเนินควบคู่ไปกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อได้ข้อมูลที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จในการเรียนของผู้ เรียน
        แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ประกอบด้วย
        1.  การวัดประเมินผลการเรียนหมวดวิชา
        2.  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        3.  ประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
        4.  การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

1. การวัดผลและประเมินผลการเรียนหมวดวิชา (กพช.)
        การวัดและประเมินผลการเรียนหมวดวิชา เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนในหมวดวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐานและกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าของผู้ เรียน ทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น การวัดและประเมินผล จึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติจริงให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นการประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลระหว่างเรียน และการประเมินผลปลายภาคเรียน
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้หมวดวิชา พิจารณาจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากผลงาน/ชิ้นงานจากการทำงานกลุ่ม ที่ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานและการร่วมอภิปราย การทดสอบย่อย (Quiz) โครงงานและการทดสอบปลายภาคเรียน

        1.1  กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง
โดยพิจารณาจากผลงาน/ชิ้นงานที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานและการร่วมอภิปราย
                1.1.1  ผลงาน/ชิ้นงานที่ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ผู้เรียนที่ได้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ในเนื้อหาสาระที่ง่าย ที่ได้ตกลงร่วมกับครูในช่วง วางแผนการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องบันทึกผลการศึกษาไว้เป็นหลักฐาน อาจใช้วิธีบันทึกด้วยการเขียนด้วยลายมือ เพื่อฝึกการเขียน และการจัดเก็บให้เป็นระบบ
        ครูตรวจสอบผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษาเป็นระยะ ๆ ตามที่ได้กำหนดในแผนการเรียนรู้ โดยพิจารณาในเรื่องของเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง คุณธรรม จริยธรรม และอื่น ๆ รวมทั้งพิจารณา การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
                
1.1.2  การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าและการร่วมอภิปราย
ผู้เรียนจะต้องหมุนเวียนกันนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายในช่วงการพบกลุ่ม และผู้ที่ยังไม่ได้นำเสนอต้องร่วมอภิปราย ซักถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นการฝึกทักษะการเสนอความคิดเห็นและฝึกทักษะการพูด
        ครูสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในส่วนที่เป็นผู้นำเสนอ ทั้งด้านเนื้อหา สื่อ บุคลิกภาพ และอื่น ๆ แล้วบันทึกผลสังเกตไว้เป็นหลักฐาน สำหรับผู้ร่วมอภิปรายให้สังเกตในเรื่องสาระที่ร่วมอภิปราย ข้อมูล ข้อคิดเห็นที่นำมาอภิปราย การมีส่วนร่วมและทักษะการพูดในที่ชุมชนและอื่น ๆ โดยบันทึกผลการสังเกตในแบบสังเกต

        1.2  การทดสอบย่อย (Quiz)
ในการพบกลุ่มหลังจากเสร็จสิ้นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการอภิปรายแล้ว ให้ครูดำเนินการทดสอบย่อยทุกครั้ง ครั้งละไม่เกิน 20 นาที โดยทดสอบเกี่ยวกับความคิดรวบยอด ตามมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ที่ได้จากการพบกลุ่มครั้งที่ผ่านมา โดยครูศูนย์การเรียนชุมชน เป็นผู้ดำเนินการจัดทำแบบทดสอบย่อยในลักษณะเติมคำตอบสั้น และให้นักศึกษาเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐานด้วย

        1.3  โครงงาน
        ครูกับผู้เรียนวางแผนการประเมินโครงงานร่วมกัน ในช่วงการวางแผนการจัดการเรียนรู้ว่าจะประเมินอะไรบ้าง ให้คะแนนเท่าไร และประเมินช่วงเวลาใด ทั้งนี้การประเมินโครงงานโดยทั่วไปจะประเมิน 3 ส่วน คือ
        ส่วนที่ 1  เอกสารโครงงาน
        ส่วนที่ 2  กระบวนการทำงาน
        ส่วนที่ 3  ผลงานและรายงาน

        ส่วนที่ 1   เอกสารโครงงาน ให้ตรวจสอบว่า เอกสารโครงงานที่เขียนมีหัวข้อสำคัญ ๆ ของโครงงานครบถ้วนหรือไม่         การเขียนโครงงานสมเหตุสมผล มีความชัดเจน และมีความเป็นไปได้เพียงใด
        ส่วนที่ 2    กระบวนการทำงาน ให้ผู้เรียนรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก 2 สัปดาห์ โดยให้ผู้เรียนประเมินด้วยตนเองว่า การดำเนินโครงงานก้าวหน้าเป็นไปตามแผนหรือไม่ หรือมีปัญหา อุปสรรคใด และได้แก้ปัญหานั้นอย่างไร โดยผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มบันทึกผลการประเมินไว้ด้วย
        ส่วนที่ 3    ผลงาน/รายงาน เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นได้ชิ้นงานแล้ว ให้ผู้เรียนช่วยกันเขียนรายงานโครงงานที่ทำตามแบบฟอร์ม การเขียนรายงานว่าทำอะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร ทำที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร พร้อมทั้งเขียนสะท้อนความคิดเห็นต่อการทำโครงงาน โดยครูประเมินทั้งส่วนที่เป็นชิ้นงานและรายงาน
ทั้งนี้การประเมินโครงงานทั้ง 3 ส่วน ให้น้ำหนักคะแนนของส่วนที่ 2 การประเมินกระบวนการทำงานและส่วนที่ 3 การประเมินผลงาน/รายงานมากกว่าส่วนที่ 1 เอกสารโครงงาน เช่น ถ้าโครงงานคะแนนเต็ม 30 ส่วน อาจให้คะแนน ส่วนที่ 1 : ส่วนที่ 2 : ส่วนที่ 3 เป็น 5: 15 :10 เป็นต้น

        1.4   การประเมินผลปลายภาคเรียน
การประเมินผลปลายภาคเรียนเป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ของแต่ละหมวดวิชา โดยให้ประเมินทั้งด้านความรู้ ทักษะ และกระบวนการด้วยแบบทดสอบทั้ง อัตนัย และปรนัย ในส่วนที่เท่ากัน หากผู้เรียนสอบไม่ผ่านหมวดวิชาใด สามารถสอบแก้ตัวในหมวดวิชานั้นได้ ให้แล้วเสร็จก่อนปิดลงทะเบียนเรียน สอบแก้ตัวตามที่สถานศึกษากำหนด และผลการสอบแก้ตัวให้ค่าระดับ ผลการเรียนเป็น “1” เท่านั้น หากสอบแก้ตัวไม่ผ่านให้ลงทะเบียนเรียนซ้ำ
คะแนนประเมินผลการเรียนรายหมวดวิชา กำหนดสัดส่วนเป็นดังนี้

รายการประเมิน คะแนนร้อยละ
    1. กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง (ผลงาน/ชิ้นงานที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง) การนำเสนอและการร่วมอภิปราย
    2. การทดสอบย่อย (Quiz) 
    3. โครงงาน 
    4. การประเมินผลปลายภาคเรียน (Final Test) 
30

10
20
40
รวม 100

หมายเหตุ 
       1. คะแนนปลายภาคเรียนต้องได้ไม่น้อยกว่า 20 คะแนน และเมื่อนำไปรวมกับคะแนนในข้อ 
1 – 3 แล้วต้องไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน จึงจะผ่านการประเมินผล
       2. หมวดวิชาที่สอบผ่านสะสมได้ไม่เกิน 5 ปี

 

 

 
     
 

 

6. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ
        ในการประเมินผลการเรียน นอกจากจะต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวแล้ว ผู้เรียน ต้องเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ ในหมวดวิชาที่สำคัญก่อนจบการศึกษา แต่ละระดับด้วย เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันต่อไป การประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ ไม่มีผลต่อการ ได้ – ตก ของนักศึกษา แต่มีผล ต่อคุณภาพของสถานศึกษา

7. การเทียบโอนผลการเรียน
       การเทียบโอนผลการเรียน ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ 4 ประเภท ดังนี้
       1.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ เข้าสู่หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มี 3 ชนิด ดังนี้
              1.1   ผู้เรียนที่ศึกษาต่อในระบบโรงเรียน หรือ วิทยาลัย แล้วลาออกกลางคัน สามารถนำ ผลการเรียนที่ได้จากในระบบโรงเรียน หรือวิทยาลัยมาเทียบโอน ตั้งแต่ภาคเรียนแรก ของการลงทะเบียนเรียน
              1.2   ผู้เรียนที่ศึกษาจากหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนแล้วลาออกกลางคัน สามารถนำ ผลการเรียนที่ได้จากสถานศึกษาเดิม มาเทียบโอนตั้งแต่ภาคเรียนแรกของการลงทะเบียนเรียน
              1.3   ผู้ที่เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หรือหลักสูตรฝึกอบรมที่มีเนื้อหาสาระอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน รวมกันให้ได้จำนวนชั่วโมงครบตามเกณฑ์แต่ละระดับการศึกษาที่ขอเทียบโอน ดังนี้
              ระดับประถมศึกษา               นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า     280   ชั่วโมง
              ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น      นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า      320   ชั่วโมง
              ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า     480    ชั่วโมง
       สามารถเทียบโอนได้ในหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต 1 พัฒนาทักษะชีวิต 2 พัฒนาอาชีพ จำนวน 1 หมวดวิชา
       วิธีการ  ให้นำหลักฐานการศึกษามาขอเทียบโอนผลการเรียนที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอ ทุกแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ผู้เรียนสมัครเป็นนักศึกษา

       2.  การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ
         การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ เป็นการนำผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ ที่ศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตั้งแต่ภาคเรียนแรก ของการลงทะเบียนเรียน
       วิธีการ  ให้นำหลักฐานการศึกษามาขอเทียบโอนผลการเรียนที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอ ที่สมัครเป็นนักศึกษา

       3. การเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
          การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นการนำประสบการณ์ การประกอบอาชีพ ตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งแบ่งได้ 9 ประเภท ดังนี้

ประเภท คุณสมบัติที่ขอเทียบโอน หลักฐานที่เทียบโอน
1. ทหารกองประจำการ      เป็นหรือเคยเป็นทหารกองประจำการ ตลอดระยะเวลา 2 ปี หรือครบตาม พระราชบัญญัติการรับราชการทหารกำหนด      หนังสือรับรองการปลดประจำการจาก ผู้บังคับกองร้อยอิสระ หรือผู้บังคับการเรือชั้น 3 ขึ้นไป หรือสมุดประจำตัวทหารกองหนุน (กรณีปลดประจำการแล้ว)
2. อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นหรือเคยเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข      บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข หรือหนังสือรับรองจาก ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัด / อำเภอ / ตำบล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน (กรณีเคยเป็นแต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแล้ว)
3. ผู้นำท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น      เป็นหรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น      หนังสือรับรองการเป็น หรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
4. สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน     1. ต้องไม่เป็นนักเรียน หรือนักศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา หรือระดับที่เทียบเท่า ของสถานศึกษาอื่น
     2. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
     3. ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน หรือกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน
     มีหลักฐานรับรองว่าปัจจุบัน เป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน หรือกลุ่มเครดิต ยูเนี่ยน โดยประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เครดิต ยูเนี่ยน หรือประธานคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเครดิต ยูเนี่ยนรับรองสถานภาพ
5. เกษตรกร     1. ต้องไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาหรือระดับที่เทียบเท่า ของสถานศึกษาอื่น
     2. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
     3. ต้องเป็นหรือเคยเป็นอาสาสมัครเกษตรกร หรืออาสาสมัครยุวเกษตร และในกรณีที่พ้นจากการเป็นอาสาสมัครเกษตรกร หรืออาสาสมัครยุวเกษตร จะต้องไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่พ้นจากหน้าที่ จนถึงวันที่ยื่นความจำนงขอเทียบโอน
     4. ต้องมีหลักฐานว่าผ่านการอบรม อาสาสมัครเกษตร หรืออาสาสมัคร ยุวเกษตร
     1. มีหลักฐานแสดงว่าเป็น หรือเคยเป็นอาสาสมัครเกษตร หรืออาสาสมัคร ยุวเกษตร และรับรองการทำกิจกรรมกลุ่ม โดยมีเกษตรตำบล เกษตรอำเภอ กำนัน หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล บุคคลใดบุคคลหนึ่ง รับรองการปฏิบัติหน้าที่
     2. มีเอกสารหลักฐานว่าผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรกลางสำหรับอบรมอาสาสมัครเกษตร หรืออาสาสมัครยุวเกษตร
     3. มีเอกสารหลักฐานหรือภาพถ่าย ที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติกิจกรรม ที่กำหนดในบทบาทหน้าที่
6. สมาชิกสหกรณ์การเกษตร     1. ต้องไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา หรือระดับที่เทียบเท่าของสถานศึกษาอื่น
     2. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
     3. ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร
     4. ในกรณีสมาชิกที่เป็นหรือเคยเป็น ผู้นำสหกรณ์ภาคการเกษตร ต้องมีหลักฐานการรับรองจากสหกรณ์
     มีหลักฐานรับรองว่าเป็น สมาชิกสหกรณ์หรือผู้นำสหกรณ์ภาคการเกษตร และรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม โดยประธานกรรมการดำเนินการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายของ สหกรณ์
7. แรงงานไทยที่ผ่านการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ      ผ่านการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านอุตสาหกรรม    - วุฒิบัตรแสดงผลการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
    - หนังสือรับรองจากนายจ้าง (ถ้ามี)
8. การเทียบโอนผลการเรียนรู้ จากการศึกษาเพื่อพัฒนา      ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียน จะต้องผ่านกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามวิธีการที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยกำหนด    - วุฒิบัตรหรือใบสำคัญหรือใบรับรอง การผ่านกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
    - เอกสารหลักฐานหรือภาพถ่ายที่แสดง กระบวนการหรือผลงานการพัฒนาอาชีพ
9. การเทียบโอนผลการเรียน    - ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนรู้ จะต้องผ่านกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน ตามวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
   - ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนจะต้องเป็นสมาชิก และมีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน(แห่งใดแห่งหนึ่ง) มาไม่น้อยกว่า 1 ปี และดำเนินการต่อเนื่อง มาถึงวันขอเทียบโอน
   - มีหลักฐานรับรองการเป็น สมาชิกวิสาหกิจชุมชน
    - มีหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติในหลักสูตร ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน
    - เอกสารหลักฐานหรือภาพถ่าย ที่แสดงกระบวนการหรือผลงานของตนเอง ในกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนอย่างใดอย่างหนึ่ง

       4.  การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายทั่วไป
เป็นการประเมินความรู้และประสบการณ์ ทำได้โดยการประเมินความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย 
ตลอดจนการฝึกอาชีพ และประสบการณ์จากการทำงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ ทักษะ ความสามารถที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในหมวดวิชา ที่จะขอเทียบโอน มีขั้นตอนดังนี้
              1.  การประเมินเบื้องต้น ผู้เข้ารับการเทียบโอนต้องเข้ารับการประเมินเบื้องต้นกับสถานศึกษา ที่ตนขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบ สัมภาษณ์ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในหมวดวิชาที่จะขอประเมินจริง จึงจะให้เขียนคำร้อง ขอเข้ารับการประเมินต่อไป
              2.  วิธีการประเมินความรู้และประสบการณ์ จะใช้วิธีประเมินจากหลักฐานเชิงประจักษ์หรือให้ผู้เข้ารับการประเมิน ประเมินระดับความสามารถ พร้อมหลักฐานประกอบความสามารถนั้น เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่ ผู้เข้ารับการประเมินมีอยู่และสามารถทำได้ ตรงกับตัวบ่งชี้ระดับในหมวดวิชาที่ขอประเมิน โดยมีวิธีการดังนี้ทดสอบความรู้ จัดทำแฟ้มผลงาน ประเมินการปฏิบัติ สัมภาษณ์ประกอบแฟ้มผลงาน ทำใบงาน ประเมินโดยคณะกรรมการหมวดวิชาละไม่น้อยกว่า 3 คน
              3.  การตัดสินผลการประเมิน ผู้เข้าประเมินจะต้องได้คะแนนรวมทุกสาระในแต่ละหมวดวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่า ผ่าน โดยให้ค่าคะแนนดังนี้

 

ได้คะแนน  80 – 100 ให้ระดับ   4 หมายถึง ผ่าน  ดีเยี่ยม
ได้คะแนน  75 – 79 ให้ระดับ   3.5 หมายถึง ผ่าน  ดีมาก
ได้คะแนน  70 – 74 ให้ระดับ   3 หมายถึง ผ่าน  ด
ได้คะแนน  65 – 69 ให้ระดับ   2.5 หมายถึง ผ่าน  ค่อนข้างดี
ได้คะแนน  60 – 64 ให้ระดับ   2 หมายถึง ผ่าน  น่าพอใจ
ได้คะแนน  55 – 59 ให้ระดับ   1.5 หมายถึง ผ่าน  พอใช้
ได้คะแนน  50 – 54 ให้ระดับ   1 หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขึ้นต่ำที่กำหนด
ได้คะแนน  0 – 49 ให้ระดับ   0 หมายถึง ไม่ผ่าน (ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด)
         กรณีหมวดวิชาใดประเมินแล้วได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ผลการประเมินเป็น “ไม่ผ่าน” หากคะแนนรวมได้มากกว่าร้อยละ 50 ให้เป็น“ผ่าน” จำนวนหมวดวิชาที่จะให้ประเมินความรู้และประสบการณ์ได้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา และผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีเวลาเรียนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน ทั้งนี้ ในหมวดวิชาใดที่เข้ารับการประเมินกำลังลงทะเบียนเรียน หรือที่สอบผ่านแล้ว หรือผ่านการประเมินความรู้และประสบการณ์แล้วจะขอประเมินในหมวดวิชานั้นอีกมิได้  

 

 

 

การย้ายสถานที่พบกลุ่ม และย้ายสถานศึกษา

        1. การย้ายสถานที่พบกลุ่ม
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานที่พบกลุ่มต่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ที่ตนสมัครเป็นนักศึกษาอยู่
              - เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปพบกลุ่ม ณ สถานที่พบกลุ่มใหม่ได้
        2. การย้ายสถานศึกษา
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา พร้อมแนบหลักฐานดังนี้
                    1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายแบบด่วนหรือรูปโพลาลอยด์)
                    2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริงมาแสดงด้วย
                    3. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ
                    4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
                    5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย
              - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ออกใบระเบียนแสดงผลการเรียนให้นักศึกษา เพื่อนำไปแสดงต่อสถานศึกษาใหม่ที่จะไปเรียน


กำหนดวัน เปิด/ปิด ภาคเรียนและเวลาเรียน


        ในปีการศึกษาหนึ่ง แบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ดังนี้
        ภาคเรียนที่  1       วันเปิดภาคเรียน    วันที่      16  พฤษภาคม
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่      10  ตุลาคม
        ภาคเรียนที่  2       วันเปิดภาคเรียน    วันที่        1  พฤศจิกายน
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่        1  เมษายน

        หนึ่งภาคเรียนจะมี 20 สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัดให้มีการพบกลุ่มจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาค ระยะเวลาเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน


การยื่นคำร้องขอจบการศึกษา

        เมื่อผู้เรียนสอบผ่านเกณฑ์ที่ครบหมวดวิชาตามหลักสูตรแล้ว จะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาและขอรับใบประกาศนียบัตรที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ โดยนำหลักฐานต่อไปนี้ มาประกอบ
        1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายด่วนหรือโพลาลอยด์)
        2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริง มาแสดงด้วย
        3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
        4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
        5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย


ศักดิ์ สิทธิ์ และการนำไปใช้

        หลักฐานการเรียนหรือประกาศนียบัตรที่นักศึกษาได้รับจากการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนนี้ จะมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับการเรียนในระบบโรงเรียนตามปกติทุกประการ
ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นพื้นฐานปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเอง ให้ดียิ่งขึ้นหรือผู้ประสงค์จะเรียนต่อไประดับที่สูงขึ้น ก็สามารถนำหลักฐานการเรียนและใบประกาศนียบัตรไปใช้ศึกษาต่อในสถาบัน ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

 

 

หลักฐานการสมัคร

    ผู้สมัครต้องเตรียมหลักฐานการสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้
      1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา
      2. รูปถ่าย 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ และไม่สวมหมวก สวมเสื้อสีขาวมีปก หรือชุดสุภาพ 
         (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และไม่ใช้รูปถ่ายประเภทโพลาลอยด์ เพื่อใช้ติดใบสมัคร 1 รูป ติดบัตรประจำตัว 1 รูป)
      3. สำเนาทะเบียนบ้านตนเองที่มีชื่อบิดามารดา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      4. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมฉบับจริงไปแสดง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า ฯลฯ

การปฏิบัติตนของนักศึกษา

    ผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา
      1. ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
      2. ต้องแต่งกายตามระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
      3. ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
      4. ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างกันในหมู่คณะ
      5. ต้องไม่ทำอันตรายหรือทำให้เสียหายชำรุด หรือบกพร่องซึ่งทรัพย์สินของสถานศึกษาและผู้อื่น
      6. ต้องไม่เล่นการพนันหรือมีอุปกรณ์การพนันไว้ในครอบครอง และไม่นำพามาในสถานศึกษา
      7. ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และสิ่งเสพติดในห้องเรียนโดยเฉพาะในสถานที่พบกลุ่ม
      8. ต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ
      9. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่
    10. ไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายต่อผู้อื่น

การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา


    นักศึกษาจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเมื่อ
      1. สำเร็จการศึกษา
      2. ลาออก
      3. ตาย
      4. ออกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา
      5. ไม่ลงทะเบียนเพื่อรักษาสภาพเป็นนักศึกษาเป็นเวลา 6 ภาคเรียนติดต่อกัน
      6. ขาดคุณสมบัติการเป็นนักศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



เข้าชม : 2749
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ตึกเทศบาลนครแหลมฉบัง ชั้น 3 ม.10 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 
โทรศัพท์ 0-3840-0835 โทรสาร  0-3840-0835  E-Mail: nfe.sriracha.chon2555@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version   Atsabala Custom