1. โครงการเสริมความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ
2. ความสอดคล้องกับนโยบาย
มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 6 มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใน
ชุมชน
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 1 ปี
ข้อ 1 การเร่งรัดการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้สามารถเข้าถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม-ประชากรอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบ
1.2) การนำสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่หลากหลายแบะมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการศึกษา และขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดการบริการการศึกษาและการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่หวังผลได้อย่างแท้จริง
1.3) การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้านและแหล่งวิทยาการชุมชนทุกประเภทในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ใช้ในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการอนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ใช้ ต่อยอดสร้างสรรค์ และพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบรวมทั้งพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีความคิดวิเคราะห์ มีเหตุมีผล และมีจิตวิทยาศาสตร์
1.6) การวางระบบการนิเทศการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคล่องตัวในการจัดการบริการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับนโยบายสู่ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ/ระดับสถานศึกษา และระดับหน่วยจัดบริการอย่างเป็นระบบ
สอดคล้องกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
ข้อที่ 4 ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
ข้อที่9 มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้อที่ 10 รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อดออมไว้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่ายและพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อมเมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ข้อที่ 11 มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
3. หลักการและเหตุผล
เกษตรธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี แต่หันมาปรับปรุงดินโดยเลียนแบบธรรมชาติในป่า ซึ่งเป็นแนวทาง การเกษตรที่ใช้วิธีปรับปรุงดินโดยเลียนแบบธรรมชาติของป่า ทำให้ ดินกลับมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิต ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพและมีความยั่งยืน โดยยึดหลัก
1. มีการปรับปรุงดินดี โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด และมีการคลุมดิน
2. ใช้ระบบการปลูกพืชหลายชนิด ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน และการพืชแซม เพื่อเป็นการจำลองธรรมชาติมาไว้ในไร่นา และช่วยป้องกันการระบาดของโรคและแมลง
3. อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ โดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันและ กำจัดศัตรูพืช เนื่องจากสารเคมีจะไม่เพียงแต่ทำลายแมลงศัตรูเท่านั้น แต่ยังทำลายตัวห้ำและตัวเบียนซึ่งเป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ด้วย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองใหญ่ เป็นสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานในการจัดกิจกรรมตามโครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะ ในการประกอบอาชีพเพื่อแก้ปัญหาการมีอาชีพ มีรายได้ของครัวเรือนโดยสนองการฝึกอาชีพแบบผสมผสานสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์กับชุมชนและครอบครัว สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข สู่สังคมสันติสุข
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรธรรมชาติให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้
2. เพื่อเป็นศูนย์ขยายผลสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรม
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
5. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
ประชาชนอำเภอหนองใหญ่ จำนวน 5 คน
เชิงคุณภาพ
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกิดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ
มีการพัฒนาตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. วิธีดำเนินการ
กิจกรรมหลัก
|
วัตถุประสงค์
|
กลุ่ม เป้าหมาย
|
เป้าหมาย
|
พื้นที่ดำเนินการ
|
ระยะเวลา
|
งบประมาณ(บาท)
|
1.ประสานสถานที่ที่ใช้จัดโครงการ
|
-เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
|
ประชาชนอำเภอหนองใหญ่
|
5 คน
|
อำเภอ
หนองใหญ่
|
มกราคม
2558
|
-
|
2.จัดเตรียมเอกสาร/วัสดุ/อุปกรณ์ โครงการ
|
-เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดโครงการ
|
1.นิทรรศการ
2.แบบประเมิน
|
5 คน
|
อำเภอ
หนองใหญ่
|
มกราคม
2558
|
-
|
3.จัดโครงการเสริมความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ
|
1. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรธรรมชาติให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้
2. เพื่อเป็นศูนย์ขยายผลสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรม
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
|
ประชาชนอำเภอหนองใหญ่
|
5 คน
|
อำเภอ
หนองใหญ่
|
กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
2558
|
|
4.รายงานผลการดำเนินโครงการ
|
เพื่อสรุปผล/รวบรวม ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
|
ครู กศน.ตำบล
|
2 คน
|
กศน. อำเภอ
หนองใหญ่
|
มิถุนายน2558
|
-
|
7. วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ
- ไม่ใช้งบประมาณ
8. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
กิจกรรมหลัก
|
ไตรมาส
|
ไตรมาส 1
เดือน ต.ค – ธ.ค.
|
ไตรมาส 2
เดือน ม.ค. – มี.ค.
|
ไตรมาส 3
เดือน เม.ย. –มิ.ย.
|
ไตรมาส 4
เดือน ก.ค. – ก.ย.
|
จัดโครงการเสริมความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
รวมทั้งสิ้น
|
|
-
|
-
|
|
9. ผู้รับผิดชอบ
นางเบ็ญจวรรณ จันท์เทวนุมาส ครูอาสาสมัครฯ
นางสาวอดิสา ธนสุขสมบัติ ครู กศน.ตำบล
10. เครือข่าย
1. เทศบาลตำบลหนองใหญ่
2. อบต.ทุก อบต.
ช
11. โครงการที่เกี่ยวข้อง
1. โครงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
3. โครงการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
12. ผลลัพธ์
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกิดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ
มีการพัฒนาตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
13. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
ตัวชี้วัดผลผลิต
ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรม
ตัวชี้วัดผลลัพธ์
ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
14. การติดตามและประเมินผลของโครงการ
1. จากแบบประเมิน
2. จากการสังเกต
เข้าชม : 585
|