26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติด
ยาเสพติด ถือเป็นสิ่งที่ทำร้ายต่อเยาวชนและ ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติเป็นอย่างมาก ทางประเทศต่างๆ จึงมีความพยายามร่วมกันหาทางแก้ไขหยุดยั้ง ป้องกันปัญหายาเสพติด โดยในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด รวมไปถึงการลักลอบใช้ยาเสพติด ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 17-26 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งในการประชุมได้มีมติเสนอให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” นับตั้งแต่นั้นมา
วันต่อต้านยาเสพติด
วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยในบ้านเรานั้น ได้พบเจอเผชิญกับปัญหา “ ยาเสพติด” อยู่มาเป็นเวลานาน ซึ่งรัฐบาลในทุกยุคทุกสมัย ก็ได้เร่งเห็นและ พยายามแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2501 คณะปฏิบัติภายใต้ของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกมาประกาศฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ให้มีการยกเลิกสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีการเผาทำลายฝิ่น และอุปกรณ์สูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง ในคืนวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2502 หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” โดยใช้ชื่อย่อว่า “กปส.”
ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ได้มีการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยให้ดีขึ้น โดยมีการวางระบบและ แบบแผน โดยกำหนดพระราชบัญญัติให้มี “ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” ใช้ชื่อย่อ “ป.ป.ส.” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ร่วมพลังเอาชนะ ต่อต้านยาเสพติด
ทั้งนี้ในประเทศไทยได้มีการออกกฏหมายถึงโทษที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนี้
ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ( กรณีคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย)
ครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาทถึง 5 แสนบาท หากมีสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม แต่ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก ตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
เสพ คำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท (คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย)
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 5 หมื่นบาท
ในทุกๆ ปีจะมีการกำหนดคำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด ขึ้นมา เพื่อเตือนสติ และร่วมรณรงค์กันต่อต้านยาเสพติด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ดังนี้
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2548 : ”พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2549 : 60 ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2550 : ”รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2551 : ”รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2552 : ”ทำความดี ตามคำพ่อ” ภายใต้คำขวัญ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2553 : ”ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2554 : “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”
- คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด 2555 : ”ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด”
วันต่อต้านยาเสพติด พ.ศ. 2559
ทั้งนี้ในทุกๆ ปี จะมีศิลปิน นักร้อง นักแสดง ที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกมาเป็นตัวแทนในวันต่อต้านยาเสพติดปีล่าสุด พ.ศ. 2555 ได้แก่
- แก้มบุ๋ม พิมพ์นิภา จิตติธีรโรจน์
- เต๋อ ฉันทวิชช์ ธนะเสวี
- พรีม รณิดา เตชสิทธิ์
- เก้า จิรายุ ละอองมณี
- ฉัตร ปริยฉัตร ลิ้มธรรมมหิศร
ที่มา http://scoop.mthai.com/specialdays/1151.html
เข้าชม : 1583
|