ข้าวซ้อมมือ…อุดมด้วยคุณค่า…กินดีมีประโยชน์
ข้าวของคน ไทยในปัจจุบันนั้นมีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ แถมยังมีการแปรรูปอย่างเช่นการเพาะงอกอีกด้วย ซึ่งข้าวบางอย่างบางสายพันธุ์ที่มี สีหรือรูปร่างลักษณะคล้ายหรือเหมือนกัน ก็อาจทำให้หลายคนสงสัยว่ามันคือข้าวชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน อย่างข้าวซ้อมมือกับข้าวกล้อง
ข้าวซ้อมมือคืออะไร?
ข้าวซ้อมมือ คือ ข้าวที่กะเทาะเปลือกโดยใช้กระเดื่องหรือสากไม้ตำในครกแล้วใช้กระด้งในการร่อนแกลบออก ซึ่งปัจจุบันมีเพียงชาวบ้านชนบทที่ตำข้าวเพื่อรับประทานกันในครอบครัว มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เมล็ดข้าวมีสีน้ำตาล อุดมด้วยเส้นใยอาหารและคุณค่างโภชนาการมากกว่าข้าวขาว ซึ่งในสมัยก่อนชาวบ้านนิยมตำรับประทานกันเองจึงเรียกกันว่าข้าวซ้อมมือนั่นเอง
ข้าวซ้อมมือก็คือข้าวกล้องนั่นเอง เพียงแต่เป็นข้าวกล้องที่มีการขัดสีมากกว่าข้าวกล้องประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ (ในขณะที่ข้าวกล้องจะขัดสีเพียงครั้งเดียว) การขัดสีก็เพื่อเวลาหุงข้าวออกมาแล้วข้าวจะนุ่มรับประทานได้ง่ายขึ้น และจมูกข้าวก็ยังคงเหลืออยู่ รวมทั้งคุณค่าทางอาหารต่างๆก็ยังอยู่ครบถ้วน แต่จะมีเพียงเส้นใยอาหารและเกลือแร่บางส่วนที่ถูกขัดออกไปพร้อมกับเยื่อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณและประโยชน์ของข้าวซ้อมมือ
- ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา
- โรคโลหิตจาง
- ป้องกันระบบประสาทอักเสบ
- ช่วยบำรุงสมอง
- ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว
- ขับถ่ายสะดวก ช่วยให้ท้องไม่ผูก
- ชะลอความชรา
- ช่วยบำรุงสายตา
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- ช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ในร่างกาย
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง
- บำรุงระบบสืบพันธุ์
- ทำให้ไขข้อเคลื่อนไหวได้สะดวก
- ช่วยลดอาการแพ้ท้อง
- ลดอาการภูมิแพ้ต่างๆ
ส่วนวิธีหุงข้าวซ้อมมือนั้นจะต่างกับข้าวขาวตรงที่ข้าวซ้อมมือจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่ ทำให้การดูดซึมของน้ำยากกว่าข้าวขาวจึงต้องใช้เวลาหุงนานกว่า จะนิยมนำข้าวซ้อมมือแช่น้ำก่อนหุงประมาณ 5 – 10 นาที ทำให้ข้าวที่ได้หอมนุ่มน่ารับประทานมากขึ้น
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่กำลัง ลดน้ำหนักอยู่ ข้าวซ้อมมือถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากทำให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารต่างๆ รวมทั้งไฟเบอร์ที่เป็นแหล่งให้กากใยอาหารสูง ทำให้การขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก แถมยังมีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้าวซ้อมมือนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายจริงๆ นอกจากเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้วยังอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอันเป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง
เข้าชม : 396
|