เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ไวรัสเมอร์ส

จันทร์ ที่ 15 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2558

คะแนน vote : 4  

อันตรายมั้ย? มารู้จัก-ป้องกัน"ไวรัสเมอร์ส" โรคที่กำลังระบาด

updated: 03 มิ.ย. 2558 เวลา 14:55:04 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เพจเฟซบุ๊ก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669 ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ "ไวรัสเมอร์ส" ที่กำลังระบาดอยู่ในเกาหลีใต้ขณะนี้ โดยระบุว่า ไวรัสเมอร์ยังมีการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง

โดยสเตตัสดังกล่าว ระบุไว้ดังนี้


ในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายคนก็คงจะได้ยินชื่อโรคแปลก ๆ อยู่โรคหนึ่ง นั่นคือ “โรค MERS-CoV”
(เมอร์ส-คอฟ) โรคที่หลายคนก็คงจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไร มีอันตรายอย่างไรต่อคน และเราสามารถหลีกเลี่ยงการรับเชื้อได้อย่างไรกันบ้าง วันนี้เรามีสาระความรู้เรื่องนี้มาฝากค่ะ

โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ทำให้ชื่อย่อของเชื้อโรคนี้ในภาษาอังกฤษ จึงใช้คำว่า MERS-CoV นั่นเอง

โคโรน่าไวรัสเป็น RNA ไวรัส ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร (ซึ่งส่วนมากแล้วอาการน้อยและบางครั้งอาจรุนแรงมาก) หากยังจำกันได้ เมื่อปี ค.ศ. 2002-2003 ขณะนั้นมีโรคซาร์ส โคโรน่าไวรัส (SARS Coronavirus) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน



ขอบคุณภาพประกอบจาก โรงพยาบาลสมิติเวช


แต่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบว่ามีการรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ต่อมาเชื้อได้แพร่กระจายไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ การ์ตา จอร์แดน ฝรั่งเศส อิตาลี และ ตูนิเซีย เดิมทีเราเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “โนเวล โคโรน่า ไวรัส: Novel Corona virus) แต่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus หรือ โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ที่สามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ30 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2557) ความสำคัญของการพบโรคนี้ก็คือ นอกจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเดียวกันนั่นเอง

อาการที่สังเกตได้
คือ มักพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจ
นถึงมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ในรายที่อาการรุนแรงพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน

แนวทางการรักษา เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง จนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติดี

สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะเรายังไม่มียาที่ใช้ทำลายเชื้อนี้ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการไข้สูง ไอ หอบ หายใจเร็ว ก็ควรให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปาก-จมูก และมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นรักษาความสะอาดมือ ทั้งผู้ป่วยเองและคนรอบข้างกันด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และอาจารย์ประจำภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณภาพประกอบจาก : โรงพยาบาลสมิติเวชค่ะ


ขอบคุณภาพประกอบจาก โรงพยาบาลพญาไท



เข้าชม : 365


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ไวรัสเมอร์ส 15 / มิ.ย. / 2558
      กระแสไฟฟ้าจาก \"สมาร์ทโฟน\" เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจริงหรือ 17 / ก.ค. / 2556