ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบมากคือ โรคอัลไซเมอร์(50-75%) สมองเสื่อมคือ เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองหลายๆ ด้านพร้อมกันแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบ ความจำ, เข้าใจ, พิจารณา, วิเคราะห์, การควบคุมตนเองเสื่อมถอยลง อันเนื่องมาจากสมองถูกทำลาย จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและความสามารถอยู่ร่วมในสังคม
อัตราการเกิดโรค
จากข้อมูลสถิติระบาดวิทยาของดับเบิ้ลยูเอชโอ พบว่าอุบัติการณ์ และความชุกของโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นตามอายุพบว่า 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุ 85 ปี เป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุ95 ปี อัตราการเกิดโรคมากถึงครึ่งหนึ่ง ประเทศแถบตะวันตกเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุ 75 ปีขึ้นไปในปัจจุบันคิดเป็น 20% อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ในประเทศสหรัฐคิดเป็น 10% ในประเทศจีนคิดเป็น 4.2% และในประเทศไทยคิดเป็น 3.4%
ไม่ว่าใครก็สามารถป่วยได้ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ“โรนัลด์ เรแกน” และอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร“มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์” ล้วนแต่เป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ทั้งสิ้น
ความสามารถในการจำลดลง เป็นอาการแสดงเบื้องต้นที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคอัลไซเมอร์ สาเหตุของโรคไม่ชัดเจน
โรคอัลไซเมอร์ คือ โรคชนิดหนึ่งของระบบประสาทที่ถดถอยมีการดำเนินโรคอย่างต่อเนื่อง อาการเบื้องต้นไม่ชัดเจนปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบว่าในช่วงวัยรุ่นหากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ แต่ไม่นานมานี้มีการวิจัยพบว่า พยาธิสภาพอยู่ที่ยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่สร้าง amyloid ในสมอง แสดงให้เห็นว่า อาการสมองเสื่อมค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม
อาการแสดง
อาการเบื้องต้นไม่เด่นชัด ความจำบกพร่อง ความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันลดลง ไม่รู้จักคู่ครอง การสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหารแม้กระทั่งการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระก็ไม่สามารถควบคุมเองได้ นำมาซึ่งความลำบากและปัญหาแก่ตนเอง และคนรอบตัวอย่างไม่สิ้นสุด เฉลี่ยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถดำรงชีวิตต่อได้คิดเป็น 5.5 ปี
การป้องกันเป็นหลัก
โรคอัลไซเมอร์ คือ โรคที่ทำได้ “เพียงป้องกัน ไม่สามารถรักษาได้” ดังนั้นการป้องกันแต่แรกเริ่มเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการต่อต้าน
ใครที่ง่ายต่อการเป็นโรคนี้มากที่สุด
ใครบ้างที่มีสิทธิเป็นโรคนี้มากที่สุด? จากสถิติในปัจจุบัน ผู้ป่วยมักจัดอยู่ในกลุ่มข้อดังต่อไปนี้ : สูงอายุ เพศหญิงเป็นม่าย รายได้ต่ำ การศึกษาไม่สูง
นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยให้เกิดโรค แต่ปัจจัยคุกคามที่สุดคือ ความชราภาพ !
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
1. การได้รับอะลูมิเนียมในปริมาณมาก ผู้ป่วยจะมีปริมาณอะลูมิเนียมในสมองใหญ่ (ซีรีบรัม) มากกว่าคนแข็งแรงทั่วไปหลายเท่าถึงสิบเท่า จึงเห็นได้ว่า ในสมองใหญ่ที่มีการสะสมอะลูมิเนียมปริมาณมากจะทำลายเซลล์ประสาทได้ง่ายและส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
2. หลอดเลือดแดงสมองแข็ง เนื่องจากหลอดเลือดแดงแข็งก่อให้เกิดหลอดเลือดแดงขนาดเล็กอุดตันทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้สมองฝ่อตัว ความสามารถทุกด้านถดถอยลงเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์
3. ระบบการเผาผลาญเสียสมดุล เช่น โรคเบาหวาน !การเผาผลาญไขมันไม่ดีทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุโรคหลอดเลือด สมองใหญ่มีเลือดไม่พอ ทำให้สมองฝ่อ กลายเป็นโรคอัลไซเมอร์
4. สมองใหญ่ได้รับความเสียหาย งานวิจัยของประเทศอังกฤษพบว่า หากบริเวณศีรษะได้รับความเสียหายอาจทำให้สมองสร้างก้อนโปรตีนที่ผิดปกติได้ ซึ่งในผู้ป่วยสมองเสื่อมจะพบการสะสมของสารที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ ชักนำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
5. การทานอาหารอิ่มเกิน นักวิชาการชาวญี่ปุ่นเห็นว่าหลังทานหารอิ่มเกิน สารในสมองใหญ่ที่เรียกว่า “Fibroblast growth factor” (เซลล์อ่อนที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่) จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดฝอยและไขมันเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว ก่อให้เกิดสติปัญญาและสมองใหญ่เสื่อมถอยก่อนวัย
6. การติดเชื้อไวรัส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันวิจัยพบว่า เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ เชื้อไวรัสเรื้อรังที่มีขนาดเล็กกว่าเชื้อไวรัสทั่วไป 100 เท่า
7. การสูบบุหรี่ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ทำการวิจัยที่ได้รับการรับรองว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานทำให้โครงสร้างสมองมีการฝ่อลงในระดับที่ต่างกัน ง่ายต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ทั้งนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีอัตราการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 157% และเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 172%
ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต