งานวิชาการเกษตรดำเนินกิจกรรมการศึกษาทดสอบ
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดขอนขาว เห็ดยานางิ(เห็ดโคนญี่ปุ่น) เป็นต้น และขยายผลสู่เกษตรกร
ในพื้นที่ศูนย์ฯ โดยการนำเกษตรกรที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม
ฝึกปฏิบัติและกลับไปเพาะเห็ดในพื้นที่ของตนเอง
ระยะแรกเกษตรกรก่อตั้งกลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจ สมาชิก 4 ราย
ดำเนินการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งจำหน่ายตลาดในท้องถิ่น
ปัจจุบันกลุ่มเพาะเห็ดมีสมาชิก 10 ราย ทำการเพาะเห็ด ยานางิ
เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่า มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 บาท/เดือน
นอกจากนี้กลุ่มยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ด
แก่เกษตรกรผู้สนใจงานวิชาการเกษตรศูนย์ฯได้ดำเนินโครงการ
เพื่อสนับสนุนงานอาหารกลางวัน โดยการให้โรงเรียนในพื้นที่ศูนย์ฯ และนอกพื้นที่
ที่มีความสนใจ นำนักเรียนเข้าฝึกปฏิบัติทำก้อนเชื้อเห็ดและนำก้อนเห็ด
ที่ได้กลับไปเปิดดอกที่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันและ
ยังเป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพแก่นักเรียน เห็ด เป็นอาหารที่รู้จักกันมานาน
ว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมได้ด้วยโปรตีนเทียบเท่ากับ
เนื้อสัตว์เป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวมังสวิรัติ และในปัจจุบันเห็ดชนิดต่างๆ
ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ3 ขั้นตอน ดังนี้
|
1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
3.การทำก้อน
สูตรอาหาร PDA
1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
4.น้ำสะอาด 1,000 cc
วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
|
- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
- กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว
- บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
- นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
นาน 25-30 นาที
- เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
- เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ
การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง
|
1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก
3.ผึ่งให้แห้ง
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA
การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำและจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น
สูตรอาหารก้อนเชื้อ
- ขี้เลื่อย 100 กก. - รำละเอียด 5 กก. - ดีเกลือ 0.2 กก
- ปูนขาว 1 กก. - น้ำสะอาด 70-75%
ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ
|
- ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
- หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
- บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
ขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
แล้วรัดยางวงให้แน่น
- นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
- นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
- นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป
หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อ
หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส
เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง
มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม
เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด
อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน
เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอกรักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง
การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ
|
ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อนดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก. ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่ ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้
ที่มา http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/agricul.htm
เข้าชม : 9390 |