|
มะตูม
เป็นพืชสมุนไพรไทยที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ผลอ่อนสีเขียว และผลแก่มีสีเหลือง เปลือกจะแข็ง เอกลักษณ์ของพืชชนิดนี้คือกลิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกได้ว่าหอมมากๆ มีการนำไปแปรรูปหลากหลาย หลักๆ เป็นในรูปผลแห้งพร้อมชงได้ทันที เรียกได้ว่าสะดวกดี สำหรับสรรพคุณสมุนไพรไทยของมะตูมคือเป็นยาระบาย ขับลม ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับถ่ายดี เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ และยังแก้อาการร้อนในได้ดีอีกด้วย
|
|
ใบบัวบก
สำหรับสรรพคุณที่ทราบกันดีคือแก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มโรคบิด แก้ท้องร่วง รักษาโรคผิวหนัง (ผดผื่นคันที่มากับหน้าร้อน) ลดความเครียด บำรุงสมอง นอกจากนี้ยังรักษาแผลเปื่อย และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
|
|
ใบเตย
เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ แก้โรคเบาหวาน (เฉพาะการลดระดับน้ำตาลในเลือด) ชุ่มคอ สังเกตุจากร้านเหล้ายาดองต่างๆ จะมีน้ำใบเตยเป็นเครื่องเคียงมาตรฐาน
|
|
ฝาง
เป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม มีหนามแข็งๆทั่วทั้งลำต้นเปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วทั้งเถา ส่วนปลายกิ่งจะมีหนามแหลมสีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น พืชชนิดนี้หายากหน่อยมักพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ แก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ (หมายถึงภาวะผิดปรกติ จากภาวะของระบบย่อยอาหาร) และที่สำคัญคือแก้ร้อนใน
|
|
ดอกเก๊กฮวย
อาจไม่เชิงเป็นสมุนไพรไทยเท่าไหร่ แต่ถือว่าหาทานได้ง่าย ถึง ง่ายมากในเมืองไทย ซึงเก๊กฮวยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน เป็นพืชล้มลุกอยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศ สำหรับชื่อแบบไทยๆบางคนก็เรียกว่า เบญจมาศสวน หรือเบญจมาศหนู เก๊กฮวยจะมีดอกสีขาว และสีเหลือง สรรพคุณเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน ขับลม ขับเหงื่อ เป็นยาแก้ปวดท้อง และช่วยระบาย ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ป้องกันโรคความดันสูง แก้อาการไข้ แก้ไอ แก้เวียนหัว หน้ามืด
|
|
ตรีผลา
อันนี้ไม่ใช่พืชตัวเดียว แต่หมายถึง ผลไม้ 3 ชนิด อันได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และมะขามป้อม ว่ากันว่าเป็นสูตรยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุ สรรพคุณคือเป็นยาระบาย ช่วยล้างพิษออกจากร่างกาย แก้ลมจุกเสียด เป็นยาบำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ นอกจากนี้ยังแก้เลือดออกตามไรฟัน (เนื่องจากมีวิตามินซีสูง) อย่าลืมถ้าจะครบองค์ประกอบของตรีผลา ต้องมีสมุนไพรครบทั้งสามชนิดนะครับ ในตำรายาโบราณได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องสามชนิดว่าช่วยลดผลข้างเคียงของกันและกัน
|